การศึกษาศิลปวัฒนธรรมชนเผ่าลาวเทิงในเขตตอนใต้ของ สปป.ลาว เพื่อออกแบบและพัฒนาเป็นเครื่องประดับร่วมสมัย

Titleการศึกษาศิลปวัฒนธรรมชนเผ่าลาวเทิงในเขตตอนใต้ของ สปป.ลาว เพื่อออกแบบและพัฒนาเป็นเครื่องประดับร่วมสมัย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2550
Authorsมลินี พินิจ
Degreeศิลปประยุกต์มหาบัณฑิต
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberNK ม213
Keywordsการออกแบบเครื่องประดับ--ลาว, ชนเผ่าลาวเทิง, ลาว--ความเป็นอยู่และประเพณี, ศิลปวัฒนธรรม, เครื่องประดับ--การออกแบบ, เครื่องประดับร่วมสมัย
Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ การประดับตกแต่งร่างกาย หารูปแบบ ที่มา ประเภท ลวดลาย วัสดุของเครื่องประดับของชนเผ่าลาวเทิงในเขตตอนใต้ของ สปป.ลาว 2.เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับของชนเผ่าลาวเทิงเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยสอดคล้องกับวิถีสังคมใหม่ในยุคปัจจุบัน กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลมี 2 ส่วนคือ 1.ผู้ที่ให้ข้อมูลด้านชนเผ่า ประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มประชากรในชนเผ่าจำนวน 12 ชนเผ่า และพนักงานของรัฐ 2.ผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องประดับ ประกอบด้วย นักออกแบบ จำนวน 3 คน ผู้ผลิต จำนวน 5 คน ผู้จำหน่ายจำนวน 15 คน และผู้ใช้เครื่องประดับจำนวน 100 คน รวมทั้งสิ้น 123 คน
ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ในด้านชนเผ่าเครื่องประดับอาจจำแรกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มลูกปัดจำพวกพลาสติก ไม้ โลหะ หิน 2.กลุ่มกำไลโลหะจำพวกตะกั่ว เงิน อะลูมิเนียม ทองเหลือง 3.กลุ่มเครื่องรางจำพวกเขี้ยวสัตว์ ว่านยา นอกจากนั้นการสำรวจข้อมูลที่มาของเครื่องประดับยังพบว่า โดยส่วนใหญ่มีแหล่งที่มาจาก 5 แหล่ง คือ จากการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น คือบรรพบุรุษเป็นผู้มอบให้ จากค่าสินสอดของฝ่ายหญิงในพิธีแต่งงาน จากการเสาะแสวงหาด้วยตนเอง จากการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชนเผ่าด้วยกันและการไปซื้อมาจากตลาด สำหรับวัสดุอาจจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโลหะและกล่มอโลหะ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ วัสดุสังเคราะห์และวัสดุจากธรรมชาติ
การทดลองออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ เป็นการใช้ข้อมูลจาก 2 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนของข้อมูลจากการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วัสดุ และกระบวนการผลิต และส่วนของข้อมูลตามความต้องการทางการตลาดในยุคปัจจุบัน
ผลจากการออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับร่วมสมัยได้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาเพื่อการประยุกต์รูปแบบของเครื่องประดับสามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในวิถีชีวิตของชนเผ่าลาวเทิงมาใช้ในการออกแบบได้ สิ่งสำคัญที่สร้างจุดเด่นในการออกแบบก็คือ การค้นหาสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ที่เหมาะสมเพื่อประกอบการออกแบบที่เหมาะสมกับยุคสมัย

Title Alternate A Study of Lao-Thoeng Art and Laos for Contemporary Jewvery Design And Application
Fulltext: