การศึกษาศิลปะลายลาวในองค์ประกอบสถาปัตยกรรมทางศาสนาคารเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย

Titleการศึกษาศิลปะลายลาวในองค์ประกอบสถาปัตยกรรมทางศาสนาคารเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsวงศ์สวัสดิ์ สุวรรณศักดิ์
Degreeศิลปประยุกต์มหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberNA ว212ก
Keywordsศิลปกรรม--ลาว, สถาปัตยกรรม--ลาว, สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา--ลาว, สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา.
Abstract

ศิลปะลายลาวเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรือง ทางด้านทัศนศิลป์ในยุคสมัยต่างๆที่อุดมไปด้วยชีวิตจิตใจ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของชนชาติลาวปูชนียสถาน หอโรงต่างๆตามยุคสมัยที่ผ่านมาซึ่งปรากฏอยู่ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ของ สปป.ลาว มีสถาปัตยกรรมในศาสนาคารที่ควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้าคือ โบสถ์(สิม) ศาลาการเปรียญ (หอแจก) หอกลาง หอระฆัง เมรุ โดยแบ่งองค์ประกอบออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนฐาน ส่วนตัวเรือย ส่วนหลังคาและยอด ซึ่งสถาปัตยกรรมประเภทดังกล่าวได้ปรากฏลายประดับรูปทรงนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัวผลิตด้วยการปั้น การหล่อ และการแกะสลักด้วยปฐมเหตุเหล่านี้เป็นผลให้ผู้วิจัยเกิดแรงบันดาลใจ จึงต้องศึกษารวบรวมและจำแนกรูปแบบ รูปทรง วัสดุ ประเภทการตบแต่งของศิลปะลายลาวในองค์ประกอบศาสนาคาร เพื่อมาประยุกต์ใช้และพัฒนารูปแบบของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแหล่ง นำสู่แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย โดยอาศัยนายช่างที่มีฝีมือประณีต นำวัสดุธรรมชาติและภูมิปัญญาจากท้องถิ่นมาผลิตเป็นผลงานหัตถกรรม
ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ 2 ประการ คือ 1)เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลการนำรูปแบบ รูปทรง ประเภท วัสดุ การตบแต่งของศิลปะลายลาวในองึ์ประกอบสถาปัตยกรรมทางศาสนาคาร ในสามภาคของ สปป.ลาว 2) เพื่อนำลายที่ศึกษามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ประเภทของที่ระลึก ของประดับตกแต่งภายในอาคารประเภทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับวิถีสังคมใหม่ในยุคปัจจุบัน จากการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลและได้กำหนดพื้นที่ในการศึกษาอยู่ในบริเวณพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์
ผลจากการศึกษา การนำลายมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เป็นของที่ระลึก โดยรวบรวม ศึกษารูปแบบลาย กรรมวิธีการผลิต และการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้จำหน่าย และผู้สนใจผลิตภัณฑ์ พบว่า สามารถนำข้อมูลที่ได้มากำหนดแนวทางในการออกแบบให้เหมาะสมได้ดี ซึ่งในการออกแบบควรมีการศึกษากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน สำรวจชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ตลาดต้องการ เลือกวัสดุในการผลิตให้เหมาะสมและศึกษาวิธีการผลิตที่ดี ในการนี้ ผู้วิจัยได้พิจารณาจากปัจจัยหลายอย่างข้างต้น จึงเลือกไม้เป็นวัสดุหลักในการผลิตและวิธีการผลิตแบบแกะสลักเนื่องจาก สปป.ลาว เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติด้านไม้มาก แต่การส่งเสริมด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ยังมีน้อย ขาดความหลากหลายทางภาครัฐ จึงเร่ิมมีการส่งเสริมด้วยการสร้างหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดูแลและลดการส่งออกไม้ที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังพบว่าผลิตภัณฑ์ากไม้หากมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับรูปแบบที่ผู้บริโภคต้องการจะสามารถสร้างกระแสความนิยมทางการตลาดได้ดีสอดคล้องกับศักยภาพของผู้ผลิตในปัจจุบัน ดังนั้น ในการออกแบบวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาต่อไป

Title Alternate A study of Laotian designs in sanctuary architectural compositions of application in contemporary product design