ผลการสอนสุขศึกษาอย่างมีแบบแผนต่อความรู้และพฤติกรรมการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาในมารดาครรภ์แรกหลังคลอด

Titleผลการสอนสุขศึกษาอย่างมีแบบแผนต่อความรู้และพฤติกรรมการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาในมารดาครรภ์แรกหลังคลอด
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2549
Authorsนิยดา คำแน่น
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRJ น639
Keywordsการสอนอย่างมีแบบแผน, การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Abstract

ผลการศึกษาพบว่า หลังการสอนสุขศึกษา กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้และคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรม (mean=23.09, 16.85) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (mean=18.23, 12.75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) นอกจากนี้หลังได้รับการสอนสุขศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ (mean=17.17, 23.09) และคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรม (mean=11.23, 16.85) สูงกว่าก่อนได้รับการสอนสุขศึกษา ตัวแปรอิสระด้านอาชีพมีผลต่อคะแนนความรู้ของมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยมารดาที่มีอาชีพทำงานนอกบ้านมีคะแนนความรู้มากกว่ามารดาที่มีอาชีพในบ้าน ผลการติดตามพฤติกรรมการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาในวันที่ 30 หลังคลอด พบว่า มารดาที่ยังคงเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาอย่างเดียวในกลุ่มทดลองลดลงเหลือร้อยละ 14.2 และกลุ่มควบคุมลดลงเหลือร้อยละ 7.9 ซึ่งน้อยกว่าความตั้งใจของมารดาที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ก่อนคลอด ทั้งนี้เนื่องจากมารดาส่วนใหญ่ให้น้ำและอาหารเสริมแก่ทารกก่อนเวลาที่เหมาะสมโดยให้เหตุผลว่าทารกร้องบ่อยกลัวหิว ต้องการล้างคราบนมและไม่อยากให้ทารกตัวเหลือง นอกจากนี้มารดาต้องออกไปทำงานนอกบ้านจำเป็นต้องฝึกให้ทารกดูดนมจากขวด
การสอนสุขศึกษาอย่างมีแบบแผนช่วยให้มารดาครรภ์แรกหลังคลอดมีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาที่ถูกต้องมากขึ้น แต่การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาเพียงอย่างเดียวถึง 6 เดือนตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขนั้น เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยากในปัจจุบันนี้ จำเป็นต้องมีการติดตามและให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่องรวมทั้งให้กำลังใจจากครอบครัวด้วย

Title Alternate The effects of the educational program on basic knowledge and breast-feeding behaviors of primigravidas during the pospartum period
Fulltext: