ระดับแอนติบอดีที่ตอบสนองต่อวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี

Titleระดับแอนติบอดีที่ตอบสนองต่อวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2549
Authorsหนึ่งฤทัย พรหมวาที
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSF ห194ร
Keywordsวัคซีน, แอนติบอดี--การวัด, โรคนิวคาสเซิล--วิจัย, ไก่--โรค, ไก่พื้นเมือง
Abstract

การศึกษามีวัตถุประสงค์ คือ 1.เปรียบเทียบระดับแอนติบอดีของไก่ชีที่ได้รับและไม่ได้รับวัคซีน 2.รูปแบบการตอบสนองต่อวัคซีน และ 3.ค่าอัตราพันธุกรรมของระดับแอนติบอดีที่ตอบสนองต่อวัคซีนนิวคาสเซิลในไก่ชี
ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า ไก่ชีกลุ่มที่ได้รับวัคซีนนิวคาสเซิลสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนอย่างชีดเจน (p<0.01) คือมีค่า LOG10 TITER ของระดับแอนติบอดีระหว่างอายุ 3-16 สัปดาห์ สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน 1.3-5.9 เท่า และที่อายุ 3,4,5,7 และ 16 สัปดาห์ มีค่า LOG10 TITER สูงกว่าระดับต่ำสุดที่สามารถป้องกันโรคได้ (cut off value) เท่ากับ 46.7, 86.7, 86.7, 86.7 และ 60.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนไก่กลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนในช่วงอายุ 3-5 สัปดาห์ มีค่า LOG10 TITER ต่ำกว่าค่า cut off value ทั้งสิ้น และแม้ว่าที่อายุ 7 และ 16 สัปดาห์จะมีค่า LOG10 TITER สูงกว่า ค่า cut off value แต่เป็นเพียงส่วนน้อย คือ 20 เปอร์เซ็นเท่านั้น ส่วนรูปแบบการตอบสนองต่อวัคซีนในช่วงอายุ 1-16 สัปดาห์ เป็นไปตามทฤษฎีการตอบสนองด้านภูมิคุ้มแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ สำหรับการปรับปรุงพันธุ์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อวัคซีนนิวคาสเซิลในไก่ชีนั้นมีความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะมีค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะนี้ต่ำ และมีค่า standard error สูง 8nv 0.02+-0.05 ดังนั้น ควรที่จะเน้นด้านการจัดการสภาพแวดล้อมมากกว่าการปรับปรุงพันธุ์

Title Alternate Antibody response against newcastle disease vaccine in Thai indigenous chicken: Chee