Title | การบำบัดน้ำผิวดินเบื้องต้นด้วยกระบวนการไมโครฟิลเตรชัน |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2550 |
Authors | ภานุวัฒน์ สีทา |
Degree | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TD ภ434 |
Keywords | น้ำ--การกรอง, น้ำ--การทำให้บริสุทธิ์--การกรอง, น้ำ--การนำกลับมาใช้ใหม่, น้ำเสีย--การบำบัด--การกรอง, สารอินทรีย์คาร์บอน, ออสโมซีสย้อนกลับ, เพอร์มิเอทฟลักซ์, เมมเบรน, ไมโครฟิลเตรชัน |
Abstract | การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาถึงประสิทธิภาพของระบบการกรองผ่านเมมเบรนแบบไมโครฟิลเตรชัน (Microfiltration, MF) ในการบำบัดเบื้องต้นของแหล่งน้ำผิวดินด้วยการดำเนินระบบการไหลตามแนวดิ่ง (dead-end operation) ส่วนน้ำที่ผ่านการบำบัดด้วยการกรองแบบไมโครฟิลเตรชันจะถูกทดสอบโดยการกรองแบบออสโมซิสย้อนกลับภายใต้เครื่องมือทดสอบแบบไหลขวาง (cross-flow operation) เพื่อเปรียบเทียบเพอร์มิเอทฟลักซ์กับผลจากแหล่งน้ำที่ไม่ผ่านการบำบัดเบื้องต้น สภาวะการดำเนินระบบแบ่งเป็นสองสภาวะ ได้แก่ การทดลองระบบแบบอนุกรม (series) และแบบกะ (batch) โดยใช้ขนาดรูพรุนของเมมเบรนที่แตกต่างกันได้แก่ 5, 1.2 และ 0.45 ไมโครเมตร ผลการศึกษาพบว่า การลดลงของเพอร์มิเอทฟลักซ์จากกระบวนการออสโมซิสย้อนกลับมีค่าลดลง เนื่องจากการบำบัดเบื้องต้นจากการกรองผ่านเมมเบรนแบบไมโครฟิลเตรชันขนาดรูพรุน 5, 1.2 และ 0.45 ไมโครเมตร สำหรับการทดสอบแบบอนุกรมและแบบกะค่าเพอร์มิเอทฟลักซ์มีอัตราการลดลงอย่างเด่นชัดในช่วงระยะเวลา 10 นาทีแรกโดยค่าฟลักซ์จะลดลงน้อยกว่าร้อยละ 10 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าฟลักซ์เริ่มต้นอาจเนื่องจากมีการสะสมสารแขวนลอยและคอลลอยด์บนผิวของเมมเบรนและหรือภายในช่องรูพรุนเมมเบรนทำให้เกิดการอุดตันบนแผ่นเมมเบรน ส่วนการเพิ่มความดันส่งผลทำให้เกิดการอัดตัวของอนุภาคสารแขวนลอบและคอลลอยด์ที่บริเวณผิวหน้าเมมเบรนและภายในรูพรุนเมมเบรนทำให้ขนาดรูพรุนเล็กลง จึงมีผลทำให้ค่าการกำจัดความขุ่นและสารอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมดเพิ่มสูงขึ้น |
Title Alternate | Microfiltration for pretreatment of surface water |