การศึกษาอัตราความชุกอาการปวดหลังส่วนล่างของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

Titleการศึกษาอัตราความชุกอาการปวดหลังส่วนล่างของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2549
Authorsวิภาพรรณ คงชนะ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRD ว651ก
Keywordsพยาบาลวิชาชีพ, อัตราความชุก, อาการปวดหลังส่วนล่าง
Abstract

ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี มีอัตราความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างร้อยละ 44.50 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่าง ๆ กับอาการปวดหลังส่วนล่าง พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง สำหรับปัจจัยด้านวิชาชีพพยาบาล พบว่า หอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานในปัจจุบัน เวลาในการปฏิบัติงานประจำและการขึ้นปฏิบัติงาน 2 เวร ใน 1 วัน มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างกันของคะแนนรวมปัจจัยสุขภาพ ด้านท่าทางการทำงานทั้งหมด ระหว่างกลุ่มที่มีอาการปวดหลังและไม่มีอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะปัจจัยด้านการ ทำงานในลักษณะการยืน การทำงานในลักษณะการเดิน การทำงานที่ต้องยกของน้ำหนัก 6-12 กิโลกรัม การทำงานที่ต้องยกของน้ำหนักมากกว่า 12 กิโลกรัมขึ้นไป การทำงานที่ต้องผลักหรือดันของน้ำหนักมากกว่า 23 กิโลกรัมขึ้นไป การยกตัวเลื่อนตัวผู้ป่วยบนเตียงโดยไม่มีผู้ช่วยยก การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยโดยไม่มีผู้ช่วย และการช่วยพยุงผู้ป่วยลุกนั่งบนเตียงโดยไม่มีผู้ช่วย สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดอาการปวดหลัง กับอาการปวดหลังส่วนล่าง พบว่า การนอนเรียบไม่นิ่มหรืแข็งเกินไป การไม่สวมรองเท้าส้นสูงขณะทำงาน การใส่เครื่องช่วยพยุงหลังขณะทำงาน การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากทำงานมีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Title Alternate The prevalence rate of low back pain of registered nurses in Sappasitthiprasong hospital, Ubonratchathani
Fulltext: