ผลของความเครียดเกลือต่อการสะสมพอลิเอมีนและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการในข้าว

Titleผลของความเครียดเกลือต่อการสะสมพอลิเอมีนและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการในข้าว
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2550
Authorsสุวัฒน์ ธีระพงษ์ธนากร
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB191.R5 ส836ผ
Keywordsการสังเคราะห์แสง, ข้าว--ผลกระทบจากเกลือ, เกลือ, เกลือโซเดียมคลอไรด์
Abstract

ในการทดลองเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับพอลิเอมีนทั้งพิวเทรสซีน สเปอมิดีนและสเปอมีน ที่ต้นข้าวสร้างขึ้นระยะต้นกล้า เมื่อได้รับโซเดียมคลอไรด์ระยะเวลาสั้น (0, 2, 4, 6 และ 24 ชั่วโมง) และระยะเสลานาน (1, 7, 14 และ 21 วัน) หลังจากได้รับความเครียดเกลือ โดยใช้ข้าว 4 พันธุ์ คือ ข้าวทนเค็มพันธุ์พอคคาลี ข้าวทนเค็มปานกลาง PTT85180 กข6 และพันธุ์ข้าวไม่ทนเค็มพันธุ์ไออาร์ 28 ผลการทดลองพบว่า ข้าวพันธุ์พอคคาลี และPTT85180 กข6 มีการสร้างสเปอมิดีนและสเปอมีนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่พันธุ์ไออาร์ 28 ซึ่งเป็นพันธุ์ไม่ทนเค็มมีการสะสมสารดังกล่าวต่ำกว่าหลังจากได้รับความเครียดเกลือ 4 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าข้าวแต่ละพันธุ์มีสเปอมิดีน สเปอมีนและพอลิเอมีนรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากได้รับความเครียดเกลือ 21 วัน สำหรับความเข้มข้นของพอลิเอมีนพบมากที่สุดในข้าวพันธุ์พอคคาลี ส่วนข้าวพันธุ์ PTT85180 และ กข6 พบปริมาณปานกลาง และไออาร์ 28 พบต่ำสุดตามลำดับ สำหรับอัตราส่วนของ Put/Spd+Spm พบในพันธุ์ไออาร์ 28 สูงกว่าพันธุ์พอคคาลี PTT85180 และกข6 หลังจากได้รับความเครียดเกลือ 14 วัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทนเค็มของข้าวแต่ละพันธุ์ ผลการทดลองสรุปว่าพันธุ์ข้าวไม่ทนเค็มมีการสะสมพิวเทรสซีนสูง โดยไม่สามารถเปลี่ยนเป็นสเปอมีดีนและสเปอมีน ในขณะที่พันธุ์ข้าวทนเค็มมีการสะสมพอลิเอมีนแต่ละชนิดในทิศทางตรงกันข้าม นอกจาดนี้ข้าวพันธุ์พอคคาลี และ PTT85189 มี A, Gs, E, Ce และ QY สูงกว่าข้าวพันธุ์ กข6 และไออาร์ 28 หลังจากได้รับความเครียดเกลือ ความเข้มข้นวิกฤตของโซเดียมคลอไรด์ที่มีต่อข้าว คือ 50 มิลลิโมล โดยเฉพาะระดับความเข้มข้นเกลือในข้าวทุกพันธุ์มีความสัมพันธ์ในทางลบกัน A, Gs, E, Ce และ QY สำหรับศักยภาพของข้าวแต่ละพันธุ์ที่ทนเค็มดูได้จากค่า R2 ส่วนปัจจัยด้านการเติบโตของข้าวพิจารณาจากพื้นที่ใบ น้ำหนักแห้งต้นและราก พบว่าค่าดังกล่าวลดลงในข้าวพันธุ์เมื่อได้รับความเครียดเกลือเพิ่มขึ้น สำหรับปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างพันธุ์ข้าวและระดับเกลือพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 7-21 วัน จากการทดลองสรุปว่าลักษณะทางสรีระและการเติบโตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการทนเค็มของข้าว

Title Alternate Effect of salinity stress on polyamine accumulation and some physiological response in rice Oryza sativa L.