ปัจจัยวิถีชีวิตต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

Titleปัจจัยวิถีชีวิตต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2552
Authorsชุติกาญจน์ พิลาศรี, สรญา แก้วพิทูลย์, ณัฎฐวุฒิ แก้วพิทูลย์, จารุวรรณ ศิริเทพทวี, ชาญวิทย์ มณีนิล, สมาพร ศิริลาภ
Institutionมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHQ27 ช615
Keywordsนักศึกษา--พฤติกรรมทางเพศ, วัยรุ่น--พฤติกรรมทางเพศ, เพศสัมพันธ์.
Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาใช้การสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจง ร้อยละ มาตรฐาน 95% CI และการวิเคราะห์การถดถอยแบบลอจิสติค
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ นักเรียนชายที่มีอายุที่มากขึ้น มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์ 3.3 เท่า ระดับชั้นปีที่ศึกษา ผู้ที่อยู่ในระดับชั้นปีที่สูงขึ้น มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์ 3.3 เท่า รายได้ของครอบครัว ผู้ที่มีรายได้ของครอบครัว > 10000 บาทต่อเดือนขึ้นไปมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เป็น 3.1 เท่า การสูบบุหรี่มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์ 4 เท่า การดื่มสุรา ผู้ที่ดื่มสุรามีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เป็น 5.9 เท่า ความถี่ของการเที่ยว ผู้ที่มีความถี่การเที่ยวที่มากขึ้นมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์ 3 เท่า และการนัดหมาย (มี date) ผู้ที่มีการนัดหมายมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เป็น 5.6 เท่า สำหรับนักศึกษาหญิงเป็นข้อมูลที่ตรงข้ามกับนักศึกษาชาย นักศึกษาหญิงที่มีผู้ปกครองรายได้ต่ำกว่า 10000 บาท มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เป็น 2.9 เท่า ผู้ที่มีผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์ 2.6 เท่า ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เป็น 3.1 เท่า ของผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่ไม่ดื่มสุรามีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เป็น 4.3 เท่า ของผู้ที่ดื่มสุราผู้ที่เที่ยวไม่นัดหมายมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เป็น 7 เท่า ของคนที่มีการนัดหมาย
ผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขป้องกันพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จึงควรสร้างค่านิยมที่เหมาะสมในเรื่องเพศ รวมถึงการสอนเพศศึกษาที่มีองค์ประกอบทั้งทางด้านสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ ด้านสังคมและด้านจิตวิทยาเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจ ตระหนักและป้องกันปัญหาเรื่องเพศที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ สังคมและรัฐควรตรวจสอบและมีมาตรการที่เข้มงวดในเรื่องการจัดระเบียบหอพัก การนำสื่อที่เสนอในเรื่องเพศ

Title Alternate Lifestyle factor on sexual risk of undergraduate students in Ubonratchathani Province.