Title | การสกัดและแยกบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพของสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลือง |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2549 |
Authors | จารุวรรณ ธนวิรุฬห์, ระวิวรรณ แก้วอมตะวงศ์ |
Institution | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TX558.S7 จ337 |
Keywords | ถั่วเหลือง--อาหาร, ถั่วเหลือง--แง่โภชนาการ., อาหารเพื่อสุขภาพ |
Abstract | งานวิจัยได้พัฒนาวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณสารเจนิสตินและสารเจนีสเตอีนในถั่งเหลือง ด้วยเทคนิค High Performance Liquid Chromotography (HPLC) ที่มีความจำเพาะเจาะจง มีความแม่นและความเที่ยง และสามารถใช้ในการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารเจนีสเตอีนและเจนิสตินได้โดยไม่มีการรบกวนจากสารอื่น ๆ ในตัวอย่าง งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณสารสำคัญอะกรัยโคนในถั่วเหลืองทั้งก่อนการบดและหลังการบดถั่วเหลือง และทำการตรวจหาปริมาณอะกรัยโคนและอนุพันธุ์โคไซด์ในถั่วเหลืองเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ทางกายภาพและทางเคมี โดยมุ่งเน้นถึงการประยุกต์และปรับใช้ปัจจัยดังกล่าวในระหว่างขั้นตอนการสกัดเพื่อปรับเปลี่ยนสารประกอบกลัยโคไซด์และอนุพันธ์ให้เป็นอยู่ในรูปอนุพันธ์อะกรัยโคนในปริมาณสูง ทั้งนี้เพื่อลดความหลากหลายของอนุพันธ์ไอโซฟลาโวน และทำให้สาระสำคัญไอโซฟลาโวนอยู่ในรูปที่พร้อมดูดซึมและออกฤทธิ์ ตลอดจนง่ายต่อการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสาระสำคัญไอโซฟลาโวนในถั่วเหลือง จะเน้นสาระสำคัญ 2 ชนิด คือ สารเจนิสติน และสารเจนิสเตอีน จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสาระสำคัญไอโซฟลาโวนก่อนการบดถั่วเหลือง โดยทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการแช่น้ำกับปริมาณสาระสำคัญ และความสัมพันธ์ของอุณหภูมิในการแช่น้ำและระยะเวลาของการแช่กับปริมาณสารสำคัญ พบว่า การแช่น้ำที่ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง เป็นสภาวะเบื้องต้นที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนสัดส่วนปริมาณสาระสำคัญในถั่วเหลืองก่อนการบดให้อยู่ในรูปอะกลัยโคนมากที่สุด สำหรับการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสาระสำคัญไอโซฟลาโวนหลังการบดถั่วเหลืองนั้น เป็ฯการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการแช่ถั่วเหลืองในสารละลายกรดกับปริมาณสารสำคัญความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของกรดกับปริมาณสารสำคัญ และ ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิในสภาวะกรดกับปริมาณสาระสำคัญ พบว่าการแช่ถั่วเหลืองในสารละลายกรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 1.0 N ที่ความร้อน 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง เป็นสภาวะเบื้องต้นที่เหมาะสมในการกระตุ้นให้สารสำคัญในถั่วเหลืองหลังการบดเพื่อให้สารสำคัญอยู่ในรูปอะกลัยโคนมากที่สุด |
Title Alternate | Extraction and purification of biological compounds, isoflavones, from soybeans |