การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเห็ดกินได้ชนิดต่าง ๆ

Titleการศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเห็ดกินได้ชนิดต่าง ๆ
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2552
Authorsจันทรพร ทองเอกแก้ว
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB353.3.T5 จ269
Keywordsเห็ด--แง่โภชนาการ, เห็ดกินได้, ไคติน, ไคโตซาน
Abstract

จากการวิเคราะห์ปริมาณไคตินและไคโตซานจากตัวอย่างเห็ดกินได้ ได้แก่ เห็ดหอม เห็ดกระด้าง เห็ดหูหนูสีน้ำตาล เห็ดเผาะ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า และเห็ดนารม ในพื้นที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ปริมาณไคตินจากเห็ดกินได้ทั้ง 7 ชนิดมีปริมาณ 2.70%, 8.61%, 1.59%, 3.86%, 1.71%, 2.86% และ 4.61% ตามลำดับ และปริมาณไคโตซานจากเห็ดกินได้ทั้ง 7 ชนิดมีปริมาณ 1.54%, 2.25%, 0.45%, 1.12%, 0.47%, 1.26% และ 0.50% ตามลำดับ โดยเห็ดตัวอย่างที่มีปริมาณไคตินและไคโตซานสูงสุด คือ เห็ดกระด้าง ส่วนเห็ดตัวอย่างที่มีปริมาณไคตินและไคโตซานต่ำสุด คือ เห็นหูหนูสีน้ำตาล

Title Alternate Determination of chitin and chitosan from edible mushrooms