Title | การศึกษาเพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2553 |
Authors | ใจแก้ว แถมเงิน |
Institution | คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HD9019.H472 จ921 |
Keywords | กลยุทธ์การตลาด, วิสาหกิจชุมชน, สมุนไพร--การค้า, สมุนไพร--การตลาด, เครื่องสำอางสมุนไพร |
Abstract | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบตลาดและคาดคะเนระดับความต้องการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้บริโภคและนำเสนอแผนการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของกลุ่มวิสาหกกิจชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี
ผลการศึกษาพบว่า ระบบตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร ในจังหวัดอุบลราชธานี เริ่มต้นจากการซื้อวัตถุดิบหลักส่วนใหญ่สามารถปลูกได้เองในชุมชน และมีวัตถุดิบบางประเภทที่ต้องสั่งซื้อจากนอกพื้นที่ ระบบการจัดจำหน่ายแบ่งเป็น 2 ประเภท 1.ระบบจำหน่ายทางตรง ได้แก่จำหน่าย ณ ศูนย์โอทอปเซ็นเตอร์ จ.อุบลราชธานี 2.ระบบจำหน่ายทางอ้อมโดยการฝากขายผ่านร้านต่าง ๆ การคาดคะเนระดับความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรมีแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด เป็นดังนี้
กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ผลิตตามหลักภูมิปัญญา มีคุณสมบัติโดดเด่นเฉพาะขึ้นอยู่กับสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายให้เลือก และควรปรับปรุงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามมากขึ้น
กลยุทธ์การตั้งราคา ใช้กลยุทธ์การตั้งราคาตามต้นทุน (Cost Oriented) ใกล้เคียงกับคู่แข่ง แต่หลักการสำคัญเน้นการตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพสินค้า และมีหลากหลายระดับราคาให้เลือก
กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มี 2 ช่องทาง คือ 1.ช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง ได้แก่ จำหน่าย ณ ศูนย์โอทอปเซ็นเตอร์ จ.อุบลราชธานี จำหน่ายทางโทรศัพท์ จำหน่ายผ่านสมาชิกในกลุ่ม และการหาตลาดโดยติดต่อกับธุรกิจสปาและสถานเสริมความงามแต่ละรายโดยตรง 2.ช่องทางการจัดจำหน่ายทางอ้อม ได้แก่ ฝากขายผ่านร้านค้าต่าง ๆ
กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด การใช้พนักงานขาย ต้องคัดเลือกพนักงานขายที่มีไหวพริบ มีทักษะและเทคนิคการขาย การโฆษณา ได้แก่ จัดทำสื่อโฆษณา เช่น แผ่นพับ เพื่อให้ข้อมูลสินค้าและสรรพคุณของผลิตภัณฑ์และจัดแสดงสินค้า ณ จุดขาย (Point of purchase) ให้สวยงามน่าดึงดูดใจ การส่งเสริมการขาย ควรให้เครดิตทางการค้าแก่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจสปา แจกของแถมและส่วนลดพิเศษ เมื่อซื้อสินค้าจำนวนมาก และมีสินค้าตัวอย่างให้ทดลองใช้ การประชาสัมพันธ์ โดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น เพื่อเป็นการกระจายสินค้าและทำให้ลูกค้าได้รู้จักผลิตภัณฑ์มากขึ้น การตลาดทางตรง ได้แก่ การตลาดทางโทรศัพท์ การตลาดทางแคตาล็อกสำหรับนำเสนอขายสินค้าที่เป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มธุรกิจสปาและสถานความงาม
|
Title Alternate | The study to develop marketing strategies for herbal products produced by small and micro community enterprise in Ubonratchathani |