Title | การนำนโยบายสุราแช่พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีไปปฏิบัติ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2552 |
Authors | จันทนา แสวงผล |
Degree | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Institution | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HD จ246 |
Keywords | สุรา--นโยบายของรัฐ, สุราพื้นเมือง--การผลิต, สุราพื้นเมือง--อุบลราชธานี |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาถึงปัญญาและอุปสรรคในการนำนโยบายสุราแช่พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีไปปฏิบัติ และ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการนำนโยบายสุราแช่พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ขออนุญาตทำและขายสุราแช่พื้นเมือง ทั้งหมด 9 ราย และเจ้าหน้าที่สรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติไม่ประสบผลสำเร็จโดยวัดจาก 2 มิติ คือ มิติที่ 1 จำนวนผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ประกอบการมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ ทุกปี และมิติที่ 2 จำนวนการชำระภาษี ซึ่งในแต่ละปีการจัดเก็บไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กรมสรรพสามิตกำหนดไว้
สาเหตุของการนำนโยบายไปปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพ โดยในส่วนของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า 4 ปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคของการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ 1)ทรัพยากร พบว่า ทรัพยากร คือเจ้าหน้าที่มีจำนวนไม่เพียงพอในการกำกับ ควบคุม ดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย อีกทั้งยานพาหนะที่ใช้ในการปฏิบัติงานมีจำนวนจำกัดแต่ใช้งานในภารกิจทุกด้าน ทั้งด้านการป้องกันปราบปราม การจัดเก็บภาษีและการประสานงานต่าง ๆ 2) กฎ ระเบียบ ที่ กำหนดคุณสมบัติผู้ขออนุญาต เนื่องจากบุคคลธรรมดาไม่สามารถที่ขออนุญาตทำและขายสุราแช่พื้นเมืองได้ อีกทั้งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ก็มีผลกระทบต่อผู้ขออนุญาตทำและขายสุราและความรู้ความเข้าใจของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ 3)เจ้าหน้าที่สรรพสามิตมีความรู้ความสามารถในขั้นตอนการขออนุญาตทำและขายสุราแช่พื้นเมืองดี แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถที่จะนะนำหรือให้ความรู้แก่ผู้ขออนุญาตทำและขายสุราแช่ในเรื่องกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพไม่สามารถส่งเสริมการขายได้ และ 4) สถานที่ตั้งโรงงานสุราอยู่ห่างไกล
สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการนำนโยบายสุราแช่พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีไปปฏิบัติในส่วนของผู้ประกอบการนั้นมี 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัญหาของสุราแช่เกิดจากปัจจัยภายใน คือ คุณภาพของสุราแช่ที่ผลิตได้ขนาดมาตรฐาน ไม่สามารถทำให้มีความคงที่ทุกรุ่นการผลิตได้ 2)เกิดจากปัจจัยภายนอก ซึ่งเกิดจากความไม่พร้อมของผู้ประกอบการที่ขาดทักษะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การผลิตที่ทำตาม ๆ กันโดยขาดความรู้ความเข้าใจ 3) การขาดความพร้อมในด้านการเงินที่ไม่สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนวัตถุดิบคุณภาพดีมาใช้ในการผลิต 4)การขาดความรู้ทางการตลาด ทำให้ขาดช่องทางการจำหน่ายและการขาดความเอาจริงเอาจังของผู้ประกอบการ และ 5) รสนิยมค่านิยมของผู้บริโภคชอบดื่มสุราแช่ประเภทเบียร์มากกว่า อีกทั้งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการขายสุราไว้ ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก
|
Title Alternate | The implementation of policies controlling locally produced fermented alcoholic beverages |