บทบาทผู้หญิงกับการเคลื่อนไหวในโครงการเขื่อนลำโดมใหญ่ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

Titleบทบาทผู้หญิงกับการเคลื่อนไหวในโครงการเขื่อนลำโดมใหญ่ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsเมธาวี นินนานนท์
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHQ ม735บ
Keywordsสตรี--ภาวะสังคม, สตรีกับการพัฒนา, สตรีกับการเมือง, สิทธิสตรี
Abstract

การวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) บทบาทของผู้หญิงแกนนำในมิติวัฒนธรรมและการจัดการทรัพยากร ในระดับครอบครัวและชุมชน ทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการเคลื่อนไหวคัดต้านการดำเนินโครงการเขื่อนลำโดมใหญ่ และ 2) บทบาทของผู้หญิงแกนนำภายหลังการเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการเขื่อนลำโดมใหญ่ ในสำนึกความเป็นผู้หญิงกับมิติวัฒนธรรม ระดับครอบครัวและชุมชน
จากการศึกษาพบว่าบทบาทของผู้หญิงแกนนำทั้งมีความสัมพันธ์กับอุดมการณ์ ?ชายเป็นใหญ่? (patriarchy) ที่กำกับบทบาทและพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมของผู้หญิงให้อยู่ในบ้าน แต่ในบางกิจกรรมของครอบครัวก็ยังมีลักษณะของการแบ่งงานกันทำของทั้งสองเพศมิได้จัดลำดับสูงต่ำแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังพบว่าหากเมื่อใดที่ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องสาธารณะเมื่อนั้นอุดมการณ์ ?ชายเป็นใหญ่? จะมีบทบาทครอบงำความคิดและการกระทำของสมาชิกในครอบครัวและคนในชุมชนทันที การจำกัดพื้นที่ในการทำงานเพื่อส่วนรวมนี้ ทำให้ผู้หญิงในชุมชนแสวงหาพื้นที่ของตัวเองโดยการสร้างพื้นที่ของตนท่ามกลางความไม่เห็นด้วยหรือกีดกันจากผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงที่ประสบชะตาแบบเดียวกันต้องกัดฟันสู้ ซึ่งวิธีการต่อสู้ของผู้หญิงจะไม่ตรงไปตรงมา แต่เป็นลักษณะการดื้อแพ่งมากกว่า
นอกจากนี้ยังพบว่า ขณะที่ผู้หญิงจำนวนหนึ่งในชุมชนต่อสู้ในการสร้างพื้นที่ของตนเองก็ยังมีผู้หญิงอีกกลุ่มหนึ่งได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวคัดต้านการดำเนินโครงการเขื่อนลำโดมใหญ่ บทบาทที่ผู้หญิงกลุ่มนี้ได้รับในขบวนการเคลื่อนไหว ส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่คุ้นชินกับที่พวกเขาปฏิบัติในครอบครัว นั่นคือ การได้รับหน้าที่ให้ทำงานเหมือนกับ ?งานบ้าน? ขณะเดียวกันพวกเขาก็ได้รับการยอมรับให้ทำงานเคียงคู่ไปกับผู้ชายด้วย เช่น การร่วมวางแผนการต่อสู้ แต่ก็ทำงานโดยการใช้ความเป็นหญิงในการต่อสู้ เพื่อลดความรุนแรงในการปะทะ และผู้หญิงต้องต่อสู้กับแนวคิดการพัฒนาของรัฐ และความคิดของคนในชุมชนที่มองผู้หญิงออกไปต่อสู้เรื่องเขื่อนเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเหมาะสม ดังนั้น เพื่อสร้างการยอมรับ ผู้หญิงเหล่านี้จึงต้องปฏิบัติตนเองไม่ให้เสื่อมเสียในขณะร่วมขบวนการต่อสู้ เพื่อยืนหยัดอยู่ต่อในขบวนการเคลื่อนไหวได้ อีกทั้งพวกเขาต้องใช้ความคาดหวังของระบบชายเป็นใหญ่เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ ได้แก่ ความคาดหวังเรื่องความเป็นผู้หญิงจากผู้ชาย

Title Alternate Women roles in Lam Dom Yai Dam project movement at Najaluay district, Ubonratchatthani province
Fulltext: