Title | การตราบาปทางสังคม : กรณีศึกษาผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2552 |
Authors | วัชราภรณ์ ลือไธสงค์ |
Degree | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Institution | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | RC ว384 |
Keywords | ผู้ป่วยจิตเภท--การดูแล, ผู้ป่วยจิตเภท--ความสัมพันธ์ในครอบครัว, ผู้ป่วยจิตเภท--ภาวะสังคม--อุบลราชธานี |
Abstract | การศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจการเกิดตราบาปทางสังคมที่มีต่อผู้ป่วยจิตเภท ตลอดจนศึกษาว่า ?ตราบาปทางสังคม? ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทอย่างไร โดยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้กรอบความคิดเรื่องความเบี่ยงเบนทางสังคมและกระบวนการประทับตราบาปมาเป็นแนวทางในการศึกษาและเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การตราบาปที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยจิตเภทพบว่า มีที่มาจาก 2 ส่วน ทั้งส่วนของผู้ป่วยและส่วนของญาติ ได้แก่ ปัจจัยทางจิต ซึ่งหมายถึง ความคิดเห็น อารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติของบุคคลที่มีต่อผู้ป่วยต่อพฤติกรรม อาการเจ็บป่วย แบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย เช่น การที่ญาติตัดสินคุณค่าและความเป็นคนของผู้ป่วย การรับรู้และติดยึดกับภาพเดิม ๆ ของผู้ป่วยจนกลายเป็นภาพตายตัว (stereotype) ที่มีต่อผู้ป่วยจนยากที่จะเปลี่ยนแปลง ความรู้สึกว่าอันตราย ความวิตกกังวล ความหวาดกลัว ตลอดจนการตัดสินและตีตราความเป็นคนของตนเอง เช่น เป็นคนเลว ไม่มีคุณค่า ไม่มีตัวตน รู้สึกแปลกแยกไม่เหมือนคนอื่น และปัจจัยทางสังคมวิทยา หมายถึง การไม่ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ทั้งการทำหน้าที่ต่อตนเองและการทำหน้าที่ต่อผู้อื่น จนสังคมมองว่าเป็นความเกียจคร้าน การไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐาน ค่านิยมในสังคม เช่น การไม่ทำหน้าที่ของลูกหลานที่ดีที่พึงปฏิบัติต่อพ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ กรณีนี้สังคมได้ตัดสินว่าเป็นคนไม่กตัญญูและการเอารูปภาพของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วลงมาเล่น ซึ่งถือเป็นการละเมินบรรพบุรุษและไม่ปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีจนทำให้ญาติโกรธไม่พอใจผู้ป่วย ในส่วนของการเกิดตราบาปนั้น พบว่า เริ่มจากการมีความคิดเห็น ความรู้สึกในทางลบต่อการเจ็บป่วยและเมื่อผู้ป่วยแสดงอาการ หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจนญาติรู้สึกไม่พอใจ โกรธ และส่งผลให้ญาติมีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งที่ผู้ป่วยได้แสดงออกไป ขณะเดียวกันผู้ป่วยเองก็รับรู้ต่อพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นจนบุคคลเหล่านั้นมีปฏิกิริยาตอบโต้กับการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างของตน ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ และไม่สามารถจะอดทนต่อไปได้ จึงได้เห็นบุคคลที่หลากหลาย เช่น ไล่หนีออกจากบ้าน แยกสำรับอาหาร ไม่ให้กินข้าวร่วมกัน ไม่พูดคุยด้วย การรับรู้ต่อปฏิกิริยาตอบโต้เหล่านี้ได้ส่งผลให้กรณีศึกษาเกิดตราบาปขึ้นในใจ |
Title Alternate | Social stigmazation: case study of Prasrimahabhodi psychiatric hospital, Ubon Ratchathani |