Title | พื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กในจังหวัดสาลาวัน (สปป.ลาว) |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2552 |
Authors | คำปัน สุนทราวงศ์ |
Degree | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TK ค363 |
Keywords | ไฟฟ้าพลังน้ำ--ลาว--สาลาวัน |
Abstract | การวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าระหว่าง 100 ถึง 8000 กิโลวัตต์ ใช้วิธีการประเมินน้ำท่า 3 วิธี คือ วิธีสัดส่วนพื้นที่ วิธีความสัมพันธ์ระหว่างน้ำท่ารายปีเฉลี่ยกับพื้นที่รับน้ำ และวิธีสัดส่วนพื้นที่กับการถ่วงดุลน้ำหนักฝนรายปี ผลการศึกษาพบว่า วิธีความสัมพันธ์ระหว่างน้ำท่ารายปีรับน้ำ เป็นวิธีที่เหมาะสม สำหรับใช้ประเมินน้ำท่าที่ไหลผ่านจุดตั้งเขื่อนในพื้นที่ที่ไม่มีสถานีวัดน้ำท่า จากการประเมินศักยภาพไฟฟ้าพลังน้ำที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าต่ำสุดมากกว่า 100 กิโลวัตต์ ขึ้นไป ได้จำนวน 20 จุด แบ่งเป็นประเภทที่มีการผันน้ำจำนวน 16 จุด ประเภทการสร้างเขื่อนเพื่อเพิ่มเฮดน้ำ (ไม่มีการผันน้ำ) จำนวน 3 จุด และประเภทผสม (รวมการสร้างเขื่อนเพื่อเพิ่มเฮดน้ำและการผันน้ำ) จำนวน 1 จุด ศักยภาพไฟฟ้ารวมทั้งหมดได้กำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุด 117,445.16 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้า 559,256,624.01 กิโลวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 27,962,832 US$ (1,118,513,248 บาท) และสามารถใช้ประโยชน์ได้ 587,225 ครัวเรือน หากพัฒนาเฉพาะประเภทการผันน้ำจะได้กำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมดสูงสุด 72,453.94 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้า 345ม015ม073 กิโลวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 17,250,753 US$ (690,060,146 บาท) และสามารถใช้ประโยชน์ได้ 362,269 ครัวเรือน ถ้าพิจารณาเฉพาะไฟฟ้าพลังน้ำที่มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าระหว่าง 100 ถึง 8000 กิโลวัตต์ พบว่าจุดศักยภาพ 13 จุด มีศักยภาพไฟฟ้าทั้งหมดสูงสุด 29,945.34 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้า 142,595,364.63 กิโลวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,129,768 US$ (285,190,729 บาท) และสามารถใช้ประโยชน์ได้ 149,762 ครัวเรือน |
Title Alternate | Potential areas for small hydropower in Salavanh province (LAO PDR.) |