การจัดการประมงในอ่างเก็บน้ำชลประทานในประเทศไทย : กรณีศึกษา อ่างเก็บน้ำห้วยเสนงและอ่างเก็บน้ำอำปึล จังหวัดสุรินทร์

Titleการจัดการประมงในอ่างเก็บน้ำชลประทานในประเทศไทย : กรณีศึกษา อ่างเก็บน้ำห้วยเสนงและอ่างเก็บน้ำอำปึล จังหวัดสุรินทร์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsสำเนาว์ เสาวกุล
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSH ส694ก
Keywordsการจัดการประมง, การจัดการประมง--การมีส่วนร่วมของประชาชน, ปลา--การเจริญเติบโต
Abstract

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการประมงอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านปริมาณผลจับ เครื่องมือที่เหมาะสม และพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ พื้นที่ตัวอย่าง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง และอ่างเก็บน้ำอำปืล ในจังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษาพบว่า ฤดูกาลจะมีอิทธิพลมากกว่าพื้นที่ต่อความผันแปรในปริมาณผลจับ ความชุกชุม และความหนาแน่นของสัตว์น้ำที่จับได้ พันธุ์สัตว์เด่นในอ่างทั้งสอง มีชนิดเดียวกัน ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาแดงน้อย ปลาสร้อยขาว ปลาแป้นแก้ว และปลาสลาด ซึ่งรวมกันแล้ว มีค่าดัชนีความสำคัญสัมพันธ์รวมกันมากกว่าร้อยละ 40 ด้านคุณภาพของน้ำ ได้ทำการศึกษาค่าพารามิเตอร์สำคัญ ได้แก่ ความลึก ความเป็นกรดด่างของน้ำ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ ความนำไฟฟ้า ความขุ่นของน้ำ อุณหภูมิของน้ำ ความโปร่งแสง ความเป็นด่างของน้ำ ปริมาณสารแขวนลอยทั้งหมด ปริมาณสารละลายทั้งหมด ปริมาณแอมโมเนียทั้งหมด ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณซิลิเกต ความกระด้าง ปริมาณความเข็งทั้งหมด และปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ ซึ่งพบว่าอิทธิพลของฤดูกาลจะมีมากกว่าพื้นที่ต่อความผันแปรของค่าคุณภาพน้ำ การศึกษาชีวประวัติของปลาชนิดเด่น 5 ชนิด ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาแดงน้อย ปลาสร้อยขาว และปลาสลาด พบว่า ช่วงเวลาในการสืบพันธุ์และวางไข่จะเริ่มในช่วงต้นฤดูฝนต่อเนื่อง ไปถึงช่วงต้นฤดูปรับเปลี่ยน 2 เช่นเดียวกันผลการศึกษาที่ได้จากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ขนาดแรกสืบพันธุ์และปริมาณความดกของไข่ที่จากการศึกษาครั้งนี้น้อยกว่าจากผลการศึกษาที่ได้จากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อย่างมีนับสำคัญ ในด้านความหลากหลายของอาหาร พบว่า ปลาที่ศึกษา 4 ชนิดเป็นปลากินพืช และ 1 ชนิด(ปลาสลาด) เป็นปลากินเนื้อ และในช่วงฤดูปรับเปลี่ยนที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงน้ำหลากที่ฤดูฝนต่อเนื่องกับฤดูแล้งนั้น จะเป็นช่วงที่มีความหลากหลายของชนิดอาหารในกระเพาะสูงสุด เครื่องมือประมงหลักที่นิยมใช้ ได้แก่ ข่าย โดยมีขนาดช่องตา 15-140 มิลลิเมตร โดยขนาดช่องตาข่ายที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อปริมาณผลจับจำนวนชนิดและจำนวนตัวปลาอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนประมงทั้งสองอ่างเก็บน้ำ พบว่ามีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวที่มีระดับการศึกษาไม่สูงนักแต่มีประสบการณ์ประมงมากกว่า 10 ปี โดยถึงแม้จะมีการทำอาชีพอื่น ๆ เสริม ภาพรวมของผลการศึกษา การที่จะทำการลดระดับในการลงแรงประมงค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากลักษณะของการประมงเพื่อการยังชีพในด้านมาตรการประมงที่ใช้อยู่ในการกำหนดขนาดตาข่ายที่ 50 มิลลิเมตร มีความเหมาะสม และได้ทำการเสนอพื้นที่ในการรักษาพืชพันธุ์ในแหล่งน้ำทั้งสอง โดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาเพื่อเป็นพื้นที่ให้สัตว์น้ำได้ไปอาศัย โดยไม่มีการรบกวนจากการประมง และสามารถเป็นแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อความยั่งยืนของการประมงในอ่างเก็บน้ำทั้งสองแห่งสืบไป

Title Alternate Fisheries management in the irrigated man-made lakes in Thailand: case studies in Huay Saneng and Amphuen reservoirs, Surin province
Fulltext: