ความพึงพอใจและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ กรณีศึกษาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย จังหวัดอุบลราชธานี

Titleความพึงพอใจและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ กรณีศึกษาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsศรีวัฒนา บุรวิศิษฐ์
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHV ศ247ค
Keywordsการบรรเทาสาธารณภัย--การป้องกัน--อุบลราชธานี, การบรรเทาสาธารณภัย--อุบลราชธานี
Abstract

การศึกษานี้วีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของการจัดการภัยพิบัติแบบเดิมกับการจัดการภายใต้ระบบหนึ่งตำบล หนึ่งทีมกู้ภัยของจังหวัดอุบลราชธานี ความพึงพอใจของประชาชนในการรับบริการ และบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการภัยพิบัติภายใต้ระบบหนึ่งตำบล หนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการแบบดั้งเดิมโดยมากส่วนกลางหรือหน่วยงานราชการเป็นผู้วางแผนให้ความช่วยเหลือ มักรอให้ภัยพิบัติเกิดขึ้นก่อนจึงแก้ไข ประชาชน ชุมชนไม่มีส่วนร่วม ขาดความต่อเนื่องในการแจ้งข้อมูลข่าวสาร ไม่มีการซักซ้อมเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติล่วงหน้า การให้ความช่วยเหลือล่าช้า ไม่ทันความต้องการและความเดือดร้อน และมีจำนวนบุคลากรร้อย การจัดการแบบนี้ทำให้ชุมชนอ่อนแอ ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ส่วนการจัดการภายใต้ระบบหนึ่งทีมหนึ่งตำบลกู้ชีพกู้ภัยให้ประชาชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติในชุมชน มีการวิเคราะห์สถานการณ์และทำแผนการแก้ปัญหาล่วงหน้า มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่หลากหลาย การให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนด้านบุคลากรก็มีความพร้อมมากขึ้น และการจัดการแบบใหม่ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งเพราะเกิดความสามัคคีและได้ความร่วมมือร่วมแรง แก้ปัญหา นำไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต 2)ความพึงพอใจจองประชาชนที่รับบริการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมาก โดยเฉพาะด้านความรวดเร็วในการให้บริการ 3)บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี ในการจัดการภัยพิบัติภายใต้ระบบหนึ่งตำบล หนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งในด้านการป้องกัน การบรรเทา และการฟื้นฟูหลังเกิดภัยพิบัติ และกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ สถานภาพ อายุ และการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการภัยพิบัติภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัยไม่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการภัยพิบัติคือ การมส่วนร่วมของประชาชน ความพร้อมของทรัพยากร เนื่องจากมีการวางแผน การเตรียมการ และซักซ้อมการช่วยเหลือ เตือนภัย วิเคราะห์สถานการณ์การเกิดภัยพิบัติไว้ล่วงหน้า

Title Alternate Satisfaction and role of local administrative organizations and communities in disaster management : a case study of the One Tambon One Search and Rescue Team of Ubon Ratchathani Province
Fulltext: