ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มอาชีพสตรี กรณีศึกษากลุ่มสตรี อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

Titleปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มอาชีพสตรี กรณีศึกษากลุ่มสตรี อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2553
Authorsสุภาพร สาธรพันธ์
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD ส838
Keywordsกลุ่มอาชีพ--อุบลราชธานี, การพัฒนาอาชีพ--อุบลราชธานี, สตรี--การจ้างงาน--อุบลราชธานี
Abstract

วัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จแบบยั่งยืนและผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรีอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี 2)ศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จแบบยั่งยืนกับผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรีอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี และ 3)เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จแบบยั่งยืนและผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรีอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามอายุ การศึกษา จำนวนบุตร อาชีพหลัก อาชีพเสริม สถานภาพสมรส เงินปันผลจากกลุ่มสตรีต่อเดือนต่อคน อายุ การเป็นสมาชิก และลักษณะงานของกลุ่มสตรี ผลการศึกษาพบว่า 1)ผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้าน คือ ความต่อเนื่องของการดำเนินงานของกลุ่ม การเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพตนเองของสมาชิก การพึ่งตนเองของกลุ่ม คุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกกลุ่ม ความเป็นบึกแผ่นของสมาชิกกลุ่ม และประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาของตนเองและชุมชน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาของตนเองและชุมชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการพึ่งตนเองของกลุ่ม 2)ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรี ทุกปัจจัย คือ คุณลักษณะของสมาชิก ลักษณะของกลุ่มสตรี การตัดสินใจ และการวางแผน ระดับการมีส่วนร่วม การตอบสนองความต้องการ ความสามารถในการแก้ปัญหา การสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น และทัศนคติที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ คุณลักษณะของสมาชิก และปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความสามารถในการแก้ปัญหา 3)ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรี ประกอบด้วย คุณลักษณะของสมาชิก ลักษณะของกลุ่มสตรี การตัดสินใจและการวางแผน ระดับการมีส่วนร่วม การตอบสนองความต้องการ ความสามารถในการแก้ปัญหา การสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น และทัศนคติที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4)ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรีจากมากไปหาน้อย คือ ทัศนคติที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ความสามารถในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจและการวางแผน 5)สมาชิกกลุ่มสตรีที่มีจำนวนบุตร อาชีพเสริม และสถานภาพสมรสต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรีแตกต่างกัน ส่วนตัวแปรอายุ การศึกษาและอาชีพหลักไม่แตกต่างกัน กลุ่มสตรีที่มีเงินปันผลจากกลุ่มสตรีต่อเดือนต่อคนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรีแตกต่างกัน ส่วนอายุการเป็นสมาชิกและลักษณะงานของกลุ่มไม่แตกต่างกัน 6)สมาชิกกลุ่มสตรีที่มีอายุ การศึกษา จำนวนบุตร อาชีพหลัก อาชีพเสริม สถานภาพสมรสต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรีไม่แตกต่างกัน กลุ่มสตรีที่มีเงินปันผลจากกลุ่มสตรีต่อเดือนต่อคนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรีแตกต่างกัน ส่วนอายุการเป็นสมาชิก และลักษณะงานของกลุ่มไม่แตกต่างกัน 7)กลุ่มสตรีกลุ่มจักสานและทอผ้า มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จแบบยั่งยืน และผลสำเร็จแบบยั่งยืนของกลุ่มสตรีไม่แตกต่างกัน

Title Alternate An analysis of factors affecting the sustainable effectiveness of Thai women occupational training center: a case study of Thai women occpation traning center at Na Chaluai District, Ubon Ratchathani Province
Fulltext: