พฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาล เทศบาลตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleพฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาล เทศบาลตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2553
Authorsโยธิน บัวทอง
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJS ย842
Keywordsการปกครองท้องถิ่น--การมีส่วนร่วมของประชาชน, การปกครองท้องถิ่น--อุบลราชธานี--ม่วงสามสิบ
Abstract

การศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาล เทศบาลตำบลม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 2)เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาล และ 3)เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัครรับนายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาลกับพฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล เทศบาลตำบลม่วงสามสิบ ผลการศึกษาพบว่า 1)พฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวมในระดับการเข้าร่วมอยู่ในระดับปานกลาง หรือบางครั้ง 1) ด้านจิตสาธารณะหรือความสำนึกต่อประโยชน์สาธารณะในการเลือกตั้งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2.75 รองลงมาคือ 2) ด้านการปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมทางการเมืองท้องถิ่นและระดับชาติในการเลือกตั้ง 3)ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย 4) ด้านความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในการเลือกตั้ง และพฤติกรรมระดับการเข้าร่วมในระดับน้อยหรือนาน ๆ ครั้ง คือ 5)ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองการปกครองในการเลือกตั้ง 2)ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวมในระดับการเข้าร่วมอยู่ในระดับปานกลางหรือบางครั้ง โดย ด้านนโยบายการบริหารการพัฒนาชุมชนทีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการสัญญาว่าจะให้หรือเคยให้สิ่งของ/กำนัล ด้านความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และผลงาน ด้านสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม เกียรติยศ ชื่อเสียง และด้านการช่วยเหลือทางสังคม อุทิศตนต่อส่วนรวมตามลำดับ 3)ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง กับพฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบว่า มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางที่สอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดย 1)ด้านนโยบายการบริหารการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุด โดยค่าความสัมพันธ์อยู่ที่ r=0.447 รองลงมาคือ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม เกียรติยศ ชื่อเสียง โดยค่าความสัมพันธ์อยู่ที่ r=0.412 และการสัญญาว่าจะให้หรือเคยให้สางของ/กำนัล โดยค่าความสัมพันธ์อยู่ที่ r=0.393 การช่วยเหลือทางสังคม อุทิศตนต่อส่วนรวมโดยค่าความสัมพันธ์อยู่ที่ r=0.316 และความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และผลงานโดยค่าความสัมพันธ์อยู่ที่ r=0.262 4)จากการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 ท่าน จากประเด็นสาเหตุอะไรที่ประชาชนที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง พบว่า สาเหตุหลักๆที่เป็นพฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งคือ ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจการเมืองการปกครองมากขึ้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง การมีความสัมพันธ์กับผู้สมัครส่วนบุคคล ระบบอุปถัมภ์ พรรคพวกเครือญาติ การซื้อสิทธิขายเสียงและทุจริต การตอบแทนบุญคุณ เพื่อเป็นช่องทางในการต่อรองทางการเมือง ระบบหัวคะแนนเลือกตั้ง

Title Alternate Behaviors of electors concerning the election of mayor and members of municipal council: the case study of Muangsamsib municipal district in Muangsamsib district in Ubon ratchathani province
Fulltext: