Title | ระบบวิเคราะห์ในการประเมินความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระอย่างรวดเร็วด้วยไบโอเซนเซอร์ชนิดใหม่ |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2555 |
Authors | มะลิวรรณ อมตธงไชย, เสาวนีย์ เหล่าสิงห์, รัตนาพร ทิวะพล |
Institution | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | RS164 ม272ร |
Keywords | พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร--เภสัชฤทธิ์วิทยา, สมุนไพร--เภสัชฤทธิ์วิทยา, แอนติออกซิแดนท์ |
Abstract | โครงการวิจัยนี้ศึกษาและพัฒนาระบบวิเคราะห์ที่รู้ผลเร็วสำหรับหาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระด้วยระบบโฟลอินเจคชันอะนาลิซิส (flow injection analysis) ที่ตรวจวัดด้วยเทคนิคแอมเพอร์โรเมท รีที่ขั้วไฟฟ้าไบโอเซนเซอร์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้เป็นระบบวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ สามารถวัดปริมาณรวมของสารต้านอนุมูลอิสระได้อย่างรวดเร็ว ใช้สารเคมีและปริมาณตัวอย่างน้อย ในการพัฒนาแลคเคสไบโอเซนเซอร์ที่มีสภาพไวและความจำเพาะเจาะจงสูงในการตรวจวัดปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ จะใช้ขั้วไฟฟ้ากลาสซีคาร์บอนที่ดัดแปรด้วยวัสดุเชิงประกอบคาร์บอนนาโนทิวบ์ที่มีหมู่อะมิโน (CNT-NH2) อนุภาพทองนาโน (AuNPs) เอนไซม์แลคเคส (Lac) กับสารละลายโบวีนซีรัมอัลบูมิน (BSA) และสารละลายกลูตารัลดีไฮด์ (Glu) หรือขั้วไฟฟ้า GC/CNT-NH2/AuNPs/Lac+BSA/Glu ใช้เทคนิคไซคลิกโวลแทมเมทรีในการศึกษาปฏิกิริยารีดักชัน ของ caffeic acid ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการดัดแปรขั้วไฟฟ้า คือ สารละลาย CNT-NH2 ความเข้มข้น 3 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร AuNPs ปริมาตร 10 ไมโครลิตร สารละลายผสมระหว่าง Lac ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และสารละลาย BSA ความเข้มข้น 1% อัตราส่วน 20:1 (ปริมาตรต่อปริมาตร) และสารละลาย Glu ความเข้มข้น 1% ได้พัฒนาระบบโฟลอินเจคชันอะนาลิซิสที่ตรวจวัดด้วยเทคนิคแอมเพอร์โรเมทรีที่ขั้วไฟฟ้าไบโอเซนเซอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่าระบบวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมีความเสถียรดี โดยสัญญาณที่ได้จากการฉีด caffeic acid ความเข้มข้น 10 พีพีเอ็ม ปริมาตร 20 ไมโครลิตร (จำนวน 20 ซ้ำ) ให้ค่า % R.S.D. เท่ากับ 3.09 สารต้านอนุมูลอิสระทุกชนิดที่นำมาทดสอบ (caffeic acid, catechin, gallic acid และ chlorogenic acid) ให้กราฟมาจรฐานแบบเป็นเส้นตรง ขีดจำกัดในการตรวจวัดอยู่ในระดับต่ำถึงพีพีเอ็ม วิธีนี้สามารถนำไปใช้ในการตรวจวัดปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในพืชสมุนไพรไทยได้อย่างรวดเร็วถึง 29 ตัวย่างต่อชั่วโมง เหมาะสมสำหรับใช้เป็น ระบบวิเคราะห์ที่รู้ผลเร็วสำหรับหาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ ในตัวอย่างจริงระบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ตรวจวัดประมาณของสารต้านอนุมูลอิสระในตัวอย่างสารสกัดจากผัก-พืชพื้นบ้านและชา |
Title Alternate | A high throughput screening method for assessing total antioxidant capacity using new biosensors |