Title | ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2553 |
Authors | จงศักดิ์ รักศรี |
Degree | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
Institution | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HJ จ128 |
Keywords | การคลังท้องถิ่น--การบริหาร--อุบลราชธานี, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น--การเงิน |
Abstract | การศึกษา โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรและประชาชนผู้เสียภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนทั้งถิ่น ในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพประสิทธิผลการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษา พบว่า 1)บุคลากรและประชาชนผู้เสียภาษีมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพประสิทธิผลการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่นโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการปรับปรุงประเภทและอัตราภาษี ด้านการเพิ่มคุณภาพการให้บริการ ด้านความพึงพอใจของประชาชน ด้านการจัดเก็บภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ด้านความสามารถในการหารายได้ ตามลำดับ 2)บุคลการและประชาชนผู้เสียภาษีมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านการบริหารและดำเนินงานที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่อการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่นโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติความพร้อมด้านทรัพยากร การมีส่วนร่วมของประชาชน ความสามารถในการบริหาร โครงสร้างและระบบงาน ตามลำดับ 3)บุคลากรและประชาชนผู้เสียภาษีมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่อการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส และหลักคุณธรรม ตามลำดับ 4)ผลการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพประสิทธิผลการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น พบว่า มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกระดับสูงและในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ ด้านโครงสร้างและระบบงาน ด้านนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ ด้านความสามารถในการบริหาร ด้านความพร้อมด้านทรัพยากร ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความคุ้มค่า สรุปได้ว่าทุกปัจจัยเป็นไปตามสมมติฐานการศึกษา |
Title Alternate | Efficiency and effectiveness of financial management: a case study of local administrative organizations of Sri Muang Mai district in Ubon Ratchathani province |