Title | การศึกษาเปรียบเทียบสรีรวิทยา พฤติกรรม ความสามารถในการย่อยได้และการเจริญเติบโตระหว่างโคลูกผสมแองกัสโลว์ไลน์และโคพื้นเมืองภายใต้สภาพการเลี้ยงแบบปล่อยแปลง |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2553 |
Authors | เอกชัย ภักดีรัตน์ |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | SF อ873 |
Keywords | โค--การเลี้ยง, โค--อาหาร, โคพื้นเมือง--การเลี้ยง, โคพื้นเมือง--อาหาร |
Abstract | การศึกษาเปรียบเทียบสรีรวิทยา พฤติกรรม ความสามารถในการย่อยได้และการเจริญเติบโตระหว่างโคลูกผสมแองกัสโลว์ไลน์และโคพื้นเมืองภายใต้สภาพการเลี้ยงแบบปล่อยแปลง แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง โดยในการทดลองที่ 1 ทำการเปรียบเทียบสรีรวิทยา (อุณหภูมิ ทวารหนัก อัตราการหายใจ และปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น) แลพฤติกรรม (การแทะเล็ม การเดิน การยืน การนอน การดื่มน้ำ และการต่อสู้) ระหว่างเดือนกรกฎาคม ? เดือนตุลาคม 2551 ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 104 วัน โดยแบ่งเป็นระยะปรับสัตว์ (Preliminary period) 14 วัน และช่วงเก็บข้อมูล (collection period) 90 วัน ใช้โคลูกผสมแองกัสโลว์ไลน์ (lowline angus crossbreds, LC) และโคพื้นเมือง (Thai Native cattle, TN) พันธุ์ละ 8 ตัว เป็นเพศเมีย 4 ตัว และเพสผู้ 4 ตัว รวม 16 ตัว ซึ่งโคทั้งสองพันธุ์มีอายุระหว่าง 7-10 เดือน มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 85?16 และ 103?10 กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนในการทดลองที่ 2 ทำการเปรียบเทียบความสามารถในการย่อยได้และการเจริญเติบโต ระหว่างเดือนมกราคม ?เมษายน 2552 ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 85 วัน โดยแบ่งเป็นระยะปรับสัตว์ 10 วัน และช่วงเก็บข้อมูล 75 วัน (ใช้โคชุดเดียวกันกับการทดลองที่ 1) โคลูกผสมแองกัสโลว์ไลน์และโคพื้นเมืองมีอายุระหว่าง 11-14 เดือน มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่ากับ 124?27 และ 139? 12 กิโลกรัม ตามลำดับ โดยทั้งสองการทดลองจัด Treatment แบบ 2x2 factorial ในแผนการทดลอง Randomized complete block design โดยปัจจัยที่ 1 คือ พันธุ์โคมี 2 พันธุ์ ประกอบด้วยโคลูกผสมแองกัสโลว์ไลน์และโคพื้นเมือง และปัจจัยที่ 2 คือการเสริมอาหารข้นที 2 ระดับ คือ การเสริมและไม่เสรมอาหารข้น ใช้เพศและอายุเป็น Block มี 4 ซ้ำและ 4 Treatments ประกอบด้วย Treatment ที่ 1 (T1) คือ โคลูกผสมแองกัลโลว์ไลน์ที่ไม่ได้รับการเสริมอาหารข้น (Lowline Angus crossbreds without concentrate supplement, LC-NS), Treatment ที่ 2 (T2) คือโคพื้นเมืองที่ไม่ได้รับการเสริมอาหารข้น (Thai Native cattle without concentrate supplement, TN-NS), Treatment 3 (T3) คือโคลูกผสมแองกัสโลว์ไลน์ที่ได้รับการเสริมอาหารข้น 1% ของน้ำหนักตัว (Lowline Angus crossbreds with concentrate supplement, LC-S) และ Treatment ที่ 4 (T4) คือ โคพื้นเมืองที่ได้รับการเสริมอาหารข้น 1% ของน้ำหนักตัว (Thai Native cattle with concentrate supplement, TN-S) โดยโคในทุก Treatment ปล่อยแทะเล็มในแปลงหญ้าซิกแนลนนอน (Brachiaria decumbens) การทดลองที่ 1 ผลการทดลองพบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่าง 2 ปัจจัย คือ พันธุ์โคกับการเสริมอาหารต่อสรีรวิทยาและพฤติกรรม โดยโคที่ได้รับอาหารชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน รวมทั้งในพันธุ์เดียวกันหรือต่างพันธุ์มีสรีรวิทยา คือ อุณหภูมิทวารหนัก ค่า log10 RT อัตราการหายใจและปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น และมีพฤติกรรมการยืน การเดิน การดื่มน้ำและการต่อสู้ไม่ต่างกัน (P>0.05) การทดลองที่ 2 ผลการทดลอง พบว่าโค LC และ TN มีความสามารถในการย่อยได้วัตถุแห้งของหญ้าซิกแนลนอนไม่ต่างกัน (P>0.05) โดยมีความสามารถในการย่อยได้วัตถุแห้งของหญ้าซิกแนลนอลเฉลี่ย เท่ากับ 77.19 และ 76.36% ตามลำดับ และพบว่าไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง 2 ปัจจัย คือ พันธุ์โคกับการเสริมอาหารต่อการเจริญเติบโต (P=0.17) |
Title Alternate | A comparison of the physiology, behavior, digestibility and growth performance between lowline angus crossbred and Thai native cattle under grazing conditions |