Title | การบูรณาการการศึกษาของโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศกเพื่อพัฒนาบุคคลและชุมชน |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2554 |
Authors | ขวัญดิน สิงห์คำ |
Degree | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ |
Institution | คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | LC ข264 |
Keywords | การพัฒนาชุมชน, การศึกษานอกระบบโรงเรียน, ชุมชนกับโรงเรียน, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, โรงเรียนชุมชน--ศรีสะเกษ., โรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก |
Abstract | การบูรณาการการศึกษาของโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก เพื่อพัฒนาบุคคลและชุมชน เป็นงานวิจัยที่มุ่งค้นหาคำตอบว่า การบูรณาการการศึกษาของบ้าน วัด และโรงเรียน ในการพัฒนาบุคคลและชุมชน เป็นอย่างไร เก็บข้อมูลการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามและประยุกต์ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มเจาะจง และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยนี้พบข้อสรุปอยู่ 3 ประการ คือ 1)ความสัมพันธ์ของวัด บ้านและโรงเรียน ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของการบูรณาการการศึกษา โดยวัดเป็นที่อบรม กล่อมเกลาให้นักเรียนรู้จักนำคุณธรรมไปใช้ในการทำงานเพื่อสร้างประโยชน์ต่อบ้านหรือชุมชน บ้านคือครอบครัวที่ให้ความอบอุ่นและถ่ายทอดทักษะในการประกอบอาชีพ ส่วนโรงเรียนเป็นแหล่งของการพัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาให้กับชุมชนโดยใช้ฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบดังกล่าวต่างเกื้อหนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างสำคัญ 2)การปลูกฝังคุณธรรมถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงทุกองค์ประกอบของชุมชน การเป็นผู้ถือศีลในชีวิตประจำวัน มีสติในการควบคุมตนเอง และเสียสละ ซึ่งเป็นคุณธรรมเบื้องต้น ที่สมณะ คุรุ และชาวชุมชนถือปฏิบัตินับเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตให้กับนักเรียนส่งผลต่อการพัฒนาของนักเรียนและชุมชน 3)การบูรณาการนำคุณธรรมมาสอนโดยสอดแทรกในทุกระดับของโรงเรียนโดยเชื่อมประสานทุกสาขาวิชานั้นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเกิดความพากเพียรในการฝึกหัดทักษะจากการทำงาน พร้อม ๆ กับการเรียนรู้ทางด้านวิชาการและสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง งานวิจัยนี้ยังมีข้อค้นพบใหม่ 3 ประการ คือ 1)ระบบสาธารณโภคี ซึ่งเป็นระบบของการบริโภคร่วมกันของวัด บ้าน และโรงเรียน สามารถสร้างจิตที่เสียสละและจิตอาสาให้นักเรียน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการชี้วัดเรื่องศีลเด่นให้มีความชัดเจนขึ้น 2)การปลุกฝังจิตอาสาลึกเข้าไปในจิตวิญญาณ ทำให้นักเรียนมีส่วนช่วยเหลือคนอื่นโดยอัตโนมัติ เป็นการสร้างประโยชน์ต่อสังคม 3)การปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ทำให้นักเรียนเมื่อออกไปอยู่ในสังคมภายนอกแล้ว ยังมีความต้องการสภาพแวดล้อมที่ดี โดยการเลือกอยู่ร่วมกับคนที่มีความประพฤติดีมากกว่าการมุ่งเน้นเรื่องการบริโภคนิยม |
Title Alternate | The integral education for individuals and community development : a case study of Samma Sikkha Sisa Asoke school |