Title | กระบวนการใช้ทุนทางสังคมในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน : กรณีศึกษา หมู่บ้านโนนสังข์ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2554 |
Authors | ไพรรินทร์ พฤตินอก |
Degree | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา |
Institution | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HN พ989 |
Keywords | กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง--การบริหาร--สุรินทร์ |
Abstract | การวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการการใช้ทุนทางสังคมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ทุนทางสังคมในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย และการสังเกตการณ์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีทุนทางสังคมเดิมอยู่แล้ว ได้แก่ ทุนทางด้านความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ด้านการประกอบอาชีพ รวมถึงการมีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน ทุนทางสังคมเหล่านี้เป็นฐานสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน การเข้ามาของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ? ปัจจุบัน คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ได้มีการบริหารจัดการกองทุนให้สามารถขับเคลื่อนมาได้ ผ่านกระบวนการใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่แล้วในชุมชน ที่เกิดจากระบบคิดบนฐานทุนทางสังคมที่มีอยู่ในที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกองทุนหมู่บ้านและผลลัพธ์ทำให้กองทุนหมู่บ้านขับเคลื่อนไปได้ แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับชุมชนได้ ในขณะที่ชุมชนต้องเผชิญกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองทั้งภายในและภายนอก ส่งผลต่อทุนทางสังคมทั้งด้านบวกทำให้เกิดทุนทางสังคมใหม่ ได้แก่ ทุนทางความรู้ ทุนเครือข่าย ด้านลบ ส่งผลให้ทุนทางสังคมบางด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ อ่อนแอลง เนื่องจากชุมชนให้ความสำคัญในเรื่องเศรษฐกิจของครัวเรือนมากขึ้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติลดลง ทุนทางด้านอาชีพดั้งเดิมมีการปรับเปลี่ยนไปตามกระแสทุนนิยม ซึ่งมีผลเชื่อมโยงต่อการกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้านมากขึ้น และทุนด้านระบบอาวุโส มีบทบาทน้อยมากในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน |
Title Alternate | The process of using social funds in management of village fund: a case study of Nonsang village, Amphoeratanburi, Surin province |