Title | การศึกษาพฤติกรรมไมโอซิสและเซลล์พันธุศาสตร์ของกล้วยไม้สกุลม้าวิ่งและสายพันธ์ลูกผสม |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2554 |
Authors | แสงเดือน พลเยี่ยม |
Degree | วิทยศาสตมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QK ส959 |
Keywords | กล้วยไม้--เซลล์วิทยา, ม้าวิ่ง (กล้วยไม้)--เซลล์วิทยา, โครโมโซม, ไมโอซิส (ชีววิทยา) |
Abstract | การศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแบ่งเซลล์ไมโอซีส ศึกษาลักษณะและรูปร่างโครโมโซมของกล้วยไม้สกุลม้าวิ่งและสายพันธุ์ลูกผสม และประเมินการเพิ่มจำนวนชุดโครโมโซมของกล้วยไม้ม้าวิ่งด้วยสารโคลซิซิน ผลการศึกษาพบว่า กล้วยไม้ม้าวิ่งและแดงอุบลมีความสมบูรณ์พันธุ์สูง มีการแนบชิดของคู่โครโมโซมในระยะไดอะคิเนซีส (diakinesis) และการสร้างไมโครสปอร์ที่เป็นปกติ (tetrad) ส่วนสายพันธุ์ลูกผสมแดงอุบล x ม้าวิ่ง และลูกผสมม้าบิน x แดงอุบล การแนบชิดของโครโมโซมผิดปกติคือ พบทั้งโครโมโซมเดี่ยว (univalent) โครโมโซมคู่ (bivalent) และโครโมโซม 3 แท่ง (trivalent) นอกจากนี้ยังพบว่าลูกผสมสองสายพันธุ์มีโครโมโซมที่เคลื่อนไปสู่ขั้วเซลล์ช้ากว่าปกติ (chromosome lagging) โครโมโซมที่มีโครงสร้างคล้ายสะพาน (chromosome bridge) และพบไมโครนิวเคลียส (micronucleus) ในระยะแอนาเฟส I และเทโลเฟส I และมีการสร้างไมโครสปอร์ที่เป็น tetrad ลดลง เมื่อศึกษาความสมบูรณ์พันธุ์ของลูกผสมทั้งสองสายพันธุ์จากความมีชีวิต การงอกของเรณู และเปอร์เซ็นการผสมติดสามารถยืนยันได้ว่า ความสมบูรณ์พันธุ์จากความมีชีวิต การงอกของเรณู และเปอร์เซ็นการผสมติดสามารถยืนยันได้ว่า ความสมบูรณ์พันธุ์ของลูกผสมทั้งสองสายพันธุ์ลดลงเมื่อเทียบกับกล้วยไม้พันธุ์แท้ (แดงอุบลและม้าวิ่ง) จากการศึกษาลักษณะและรูปร่างของโคโมโซมกล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง และลูกผสมแดงอุบล x ม้าวิ่ง พบว่า กล้วยไม้ม้าวิ่งและม้าบินเป็นดิพลอยด์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมแบบ อัลโทเททระพลอยด์ (allotetraploid) ลูกผสมแดงอุบล x ม้าวิ่ง เป็นทริพลอยด์ มีจำนวนโครโมโซมร่างกาย 57 แท่ง (2n=57) การเพิ่มจำนวนชุดโครโมโซมของกล้วยไม้ม้าวิ่งหลังจากได้รับสารโคลซิซิน พบว่า ได้ต้นที่เป็นเททระพลอยด์ (2n=4x) และออกตะพลอยด์ (2n=8x) และพบต้นมิกโซพลอยด์เกิดขึ้น ต้นออกตะพลอยด์มีความสูงต้นและความยาวรากลดลง ใบมีขนาดเล็ก ลำต้นสั้น และมีจำนวนใบต่อต้นน้อยกว่าต้นดิพลอยด์ ในขณะที่ต้นมิกโซพลอยด์นั้นไม่แตกต่างจากต้นดิพลอยด์และเททระพลอยด์ ทั้งความสูงต้น จำนวนใบต่อต้น ขนาดใบและขนาดลำต้น |
Title Alternate | Meiotic behavior and cytogenetic study in Doritis spp. and Doritis Hybrids |