Title | ปริมาณการปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์จากพาร์ติเคิลบอร์ด |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2554 |
Authors | ทัดดาว พาหาทรัพย์อนันต์ |
Degree | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TS ท341 |
Keywords | ฟอร์มัลดีไฮด์, มลพิษทางอากาศ, แผ่นชิ้นไม้อัด, โรงงานผลิตภัณฑ์ไม้อัด, ไม้อัด--การผลิต |
Abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณการปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์จากพาร์ติเคิลบอร์ดโดยพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้ อุณหภูมิอากาศภายในอาคาร ชนิดของกาวเรซิน และความหนาของพาร์ติเคิลบอร์ด โดยการหาปริมาณการปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์จากตัวอย่างชิ้นไม้พาร์ติเคิลบอร์ดใช้วิธี JIS A 1460 ซึ่งการศึกษาแบ่งออกเป็นสามชุดทดลอง เพื่อศึกษาผลกระทบดังกล่าวต่อการปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์ สำหรับผลกระทบของอากาศภายในอาคาร ตัวอย่างชิ้นไม้ถูกนำใส่ในตู้อบที่อุณหภูมิ 20 35 และ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 2 3 5 และ 7 วัน สำหรับผลกระทบของชนิดของกาวเรซิน ได้เปรียบเทียบการปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์เมื่อใช้กาวประเภทยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ ชนิด 10L617A (UF:E1) 10L686 (UF:E2) และกาวเมลามีนยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ชนิด 10L631 (MUF:E2) เป็นตัวประสานในการผลิตพาร์ติเคิลบอร์ด การทดลองชุดสุดท้ายพิจารณาผลกระทบจากความหนาของพาร์ติเคิลบอร์ด ผลจากการศึกษาพบว่า ที่อุณหภูมิในการอบไม้ที่ 20 องศาเซลเซียส มีปริมาณการปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์สูงที่สุด รองลงมือคือที่อุณหภูมิ 35 และ 40 องศาเซลเซียสตามลำดับ สอดคล้องกับหลักการ Back-Out และเมื่อระยะเวลาในการทดสอบเพิ่มมากขึ้น ปริมาณการปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์ออกจากวัสดุมีค่าลดลง ผลจากการทดลองชุดที่สองพบว่าพาร์ติเคิลบอร์ดที่ผลิตจากกาวประเภท 10L617A (UF:E1) ปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์น้อบกว่ากาวประเภท 10L686 (UF:E2) ผลการศึกษาจากการทดลองชุดสุดท้ายชี้ว่าความหนาของพาร์ติเคิลบอร์ดไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อปริมาณการปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์ |
Title Alternate | Emission of formaldehyde from particleboards |