การปรับตัวของคนม้งกับนโยบายการกำหนดเขตป่าอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา ชุมชนล้องงัวป่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติน้ำแอด-ภูเลย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Titleการปรับตัวของคนม้งกับนโยบายการกำหนดเขตป่าอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา ชุมชนล้องงัวป่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติน้ำแอด-ภูเลย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2557
Authorsไอยะโก กันดาสัก
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberBF อ994 2556
Keywordsการปรับตัว, การปรับตัวทางสังคม, การปรับตัวทางสังคม--ชุมชนล้องงัวป่า, ม้ง--การดำเนินชีวิต, ม้ง--ความเป็นอยู่และประเพณี
Abstract

การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกำหนดเขตป่าอย่างยั่งยืนและการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดป่ากับวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนน้ำแอด-ภูเลย และเพื่อศึกษาการปรับตัวของชุมชนมุ้งภายใต้กระบวนการกำหนดเขตป่าอย่างยั่งยืน
ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ภายใต้บริบทความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ในช่วงปี ค.ศ. 2007 ป่าสงวนแห่งนี้แอด-ภูเลย ซึ่งได้มีการเผยแพร่ระเบียบและกฎหมายป่าไม้ ตลอดจนความรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตป่า เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความรับรู้เข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตป่า เพื่อให้ชาวบ้านเกิดความรับรู้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติต่อการดำรงชีวิตของพวกเขาโดยได้เปิดโอกาให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเขตป่า ตั้งแต่กระบวนการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ การวางแผนและตัดสินใจ การปฏิบัติ การดำเนินงาน การระดมทุน การติดตามประเมินผลและตรวจสอบ และการมีส่วนรับประโยชน์
ประการที่สอง การกำหนดเขตป่าอย่างยั่งยืนในระยะแรก ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ซึ่งสัมพันธ์กับป่า การที่ไม่สามารถเข้าไปถางป่าทำไร่และเข้าไปหาของป่าล่าสัตว์ในเขตหวงห้ามได้เหมือนเดิม ได้ส่งผลต่อความไม่มั่นคงทางอาหาร ทั้งนี้รัฐได้ส่งเสริมด้วยการอนุญาตให้บุกเบิกที่นาในพื้นที่ใหม่ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ขุดบ่อเลี้ยงปลา ให้ทุนสนับสนุนการปลูกพืชเชิงพาณิชย์
ประการที่สาม กลุ่มคนม้งได้ปรับตัวในหลากหลายรูปแบบ จากเดิมที่เคยดำรงชีวิตโดยพึ่งพาป่าอย่างเดียว คือ กลุ่มคนฐานะร่ำรวยในชุมชนสามารถปรับตัวโดยการปลูกข้าวเพื่อไว้กินตลอดปี ปลูกพืชล้มลุก ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ สำหรับกลุ่มคนฐานะยากจน จะทำไร่ปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง ปลูกพืชสมุนไพร ในพื้นที่ที่รัฐจัดสรรให้และเก็บหาของป่า ส่วนหนึ่งยังต้องเช่าที่นาจากกลุ่มคนรวยโดยแบ่งผลผลิตให้ ทำให้กลุ่มคนจนได้ต่อรองกับรัฐด้วยการขอคืนพื้นที่ทำกินบางส่วนจากเขตหวงห้ามและขอเข้าไปเก็บหาของป่าที่ไม่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อระบบนิเวศในเขตหวงห้าม ซึ่งรัฐได้อนุญาตตามที่ร้องขอ แต่ต้องมีการแจ้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก่อน
ทั้งนี้ นโยบายการกำหนดเขตป่าอย่างยั่งยืนจะเป็นผลประโยชน์ในระยะยาว เนื่องจากสามารถฟื้นฟูระบบนิเวศให้มีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งพื้นที่เขตหวงห้ามสามารถเป็นพื้นที่ในการอนุรักษ์และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต การที่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตป่าทุกครัวเรือนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเขตป่าในระดับสูง และชาวบ้านส่วนใหญ่สามารถปรับตัวในการดำรงชีพได้ จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืนได้

Title Alternate The adaptation of hmong to sustainable forests zoning policy : a case study of longngouapa community, Namet - Phou Leuy national protected area, Lao Peoples Democratic Republic
Fulltext: