สมการชิ้นส่วนเทียบเท่าสำหรับการวิเคราะห์หาน้ำหนักวิกฤตของเสาไม้ปลายสอบ

Titleสมการชิ้นส่วนเทียบเท่าสำหรับการวิเคราะห์หาน้ำหนักวิกฤตของเสาไม้ปลายสอบ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsพัชพงศ์ ธรรมวงศา
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTA พ516พ
Keywordsกำลังวัสดุ--การทดสอบ, เสาไม้ปลายสอบ--การทดสอบ
Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสมการหน้าตัดเทียบเท่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการออกแบบเสาไม้ของสหรัฐอเมริกา และสมการความยาวเทียบเท่าที่ได้นำเสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ซึ่งมีพื้นฐานการพัฒนาจากการโก่งเดาะในช่วงยืดหยุ่นว่าจะสามารถใช้ประยุกต์หาน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยในช่วงไม่ยืดหยุ่นของเสาไม้ปลายสอบได้หรือไม่ โดยศึกษาเสาหน้าตัดตันปลายสอบด้านลึกและโก่งเดาะด้านลึก ที่มีสภาพการยึดรั้งพื้นฐาน 5 รูปแบบ คือ ยึดหมุนทั้งสองข้าง ยึดแน่นและยึดหมุน ยึดแน่นและปล่อยอิสนะ ยึดแน่นทั้งสองข้าง ยึดแน่นและเลื่อนตามราง และศึกษาเสาที่มีความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครียดของวัสดุ 2 รูปแบบ คือ แบบ Elastic-Perfectly Plastic และแบบ Ramberg Osgood ผลการศึกษาพบว่า สมการหน้าตัดเทียบเท่าไม่สามารถใช้ประยุกต์หาน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยในช่วงไม่ยืดหยุ่นของเสาไม้ปลายสอบได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ในกรณีความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครียดของวัสดุแบบ Elastic-Perfectly Plastic และแบบ Ramberg Osgood หากประสงค์จะใช้สมการหน้าตัดเทียบเท่าประยุกต์หาน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยในช่วงไม่ยืดหยุ่นของเสาไม้ปลายสอบให้ปลอดภัยทั้งในกรณีความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครียดของวัสดุแบบ Elastic-Perfectly Plastic และแบบ Ramberg Osgood จะต้องกำหนดค่าน้ำหนักวิกฤตสูงสุดในช่วงไม่ยืดหยุ่นของเสาไว้ไม่เกินค่าผลคูณระหว่างหน่วยแรงครากของวัสดุกับพื้นที่หน้าตัดด้านเล็กของเสาปลายสอบ และต้องทำการปรับลดค่าน้ำหนักวิกฤตสูงสุดในช่วงไม่ยืดหยุ่นในกรณีของความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครียดของวัสดุแบบ Ramberg Osgood เมื่อมีค่าอัตราส่วนที่ปลาย (r) น้อยกว่า 0.6 ในส่วนของสมการความยาวเทียบเท่านั้น สามารถใช้ประยุกต์หาน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยทั้งในช่วงยืดหยุ่นและไม่ยืดหยุ่นของเสาไม้ปลายสอบได้อย่างปลอดภัยในทุกกรณี

Title Alternate Equeation of equivalent member for determination of critical load of timber tapered columns
Fulltext: