การสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านภายใต้แรงบันดาลใจในการออกแบบจากพืชประเภทเครือเถา

Titleการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านภายใต้แรงบันดาลใจในการออกแบบจากพืชประเภทเครือเถา
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsพีรพงษ์ พันธะศรี
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberNK พ791ก
Keywordsเครื่องปั้นดินเผา--การตกแต่งให้สวยงาม, เครื่องปั้นดินเผา--การผลิต, เครื่องปั้นดินเผา--การออกแบบ, เครื่องเคลือบดินเผา--การออกแบบ
Abstract

วัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) ศึกษาลักษณะทางกายภาพของพืชประเภทเครือเถาที่มีในท้องถิ่น 2) ศึกษารูปแบบการใช้พืชประเภทเครือเถาในการสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะต่าง ๆ 3) ทดลองและศึกษาการสร้างรูปแบบ แนวคิด เทคนิค วิธีการในการนำดินไปสร้างสรรค์เป็นผลงานเครื่องปั้นดินเผา โดยการศึกษาคุณลักษณะของพืชประเภทเครือเถาที่มีในท้องถิ่น ตามกรอบการศึกษาวัสดุและกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเครือเถาวัลย์ในท้องถิ่น โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง คือ กลุ่มผู้ผลิตตะกร้าเถาวัลย์บ้านอีเซ ตำบลอีเซ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ลักษณะทางกายภาพของพืชประเภทเครือเถาที่มีในท้องถิ่นมีคุณค่าความงามในหลายด้าน เช่น พื้นผิว ลีลา หรือเส้น การบิดพัน ขนาดที่แตกต่าง และสีสัน นอกจากนี้ยังพบว่าเครือเถาวัลย์ได้เข้ามามีบทบาทในงานศิลปะประเภทสถาปัตยกรรม และศิลปะประยุกต์ โดยมีจุดเด่น คือ ได้ใช้รูปแบบที่ลดทอนจากธรรมชาติ และบางส่วนใช้ร่วมกับพืชชนิดอื่นเพื่อให้เกิดความสวยงาม ส่วนของการศึกษาและพัฒนาเนื้อดินในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์จากลักษณะของพืชประเภทเครือเถา ผู้วิจัยได้เลือกรูปทรงของลูกน้ำเต้า นมวัว สะบ้า และลักษณะรูปทรงของต้นไม้ กิ่งไม้ที่มีลักษณะกลมกลืนกับลักษณะของเครือเถาวัลย์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาในครั้งนี้
ผลสรุปจากการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน ภายใต้แรงบันดาลใจในการออกแบบจากพืชประเภทเครือเถา ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า ดินที่ผสมตามสัดส่วน ฟางข้าว: ดินบ้านหม้อ: ดินเชื้อ ในอัตราส่วน 20:70:10 เมื่อนำไปขึ้นรูปแบบกดแล้วไม่หดตัว สามารถคงรูปได้เมื่อนำไปเผาแล้วทนความร้อน ไม่แตกหัก สามารถเลียนแบบลักษณะทางกายภาพของเถาวัลย์ในท้องถิ่นและใช้งานได้จริง กรรมวิธีการผลิตสามารถผลิตได้โดยช่างพื้นบ้าน นำไปต่อยอดเพื่อการผลิต และจำหน่ายได้

Title Alternate Local pottery making based on designs inspired by characteristics of vines
Fulltext: