Title | การพัฒนาวัสดุจากพืชวงศ์หญ้าร่วมกับเศษวัสดุเหลือทิ้งจาการเกษตรกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2556 |
Authors | ธเนศ ภิรมย์การ |
Degree | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ |
Institution | คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | NK ธ285ก |
Keywords | การออกแบบผลิตภัณฑ์, ของเสียทางการเกษตร--การใช้ประโยชน์, วัสดุเหลือใช้จากพืชเกษตร--การใช้ประโยชน์, หญ้า--ผลิตภัณฑ์--การจัดการ |
Abstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ศึกษาการใช้ประโยชน์และกระบวนการผลิตจากพืชวงศ์หญ้าร่วมกับวัสดุเหลือจากการเกษตรกรรมในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย และศึกษาแนวทางการนำวัสดุที่พัฒนามาใช้ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยศึกษาพืชวงศ์หญ้าและวัสดุเหลือจากเกษตรกรรมพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางประเทศไทย ในปี 2553-2555 ด้านสัณฐานวิทยา การใช้ประโยชน์ กระบวนการผลิต จากพืชวงศ์หญ้า 5 วงศ์ย่อย 7 เผ่า 15 เผ่าย่อย 49 สกุล 76 ชนิด เลือกชนิดที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 8 ชนิด ร่วมกับเศษเหลือจากการเกษตรกรรม คือ เหง้ามันสำปะหลัง ทำการทดลองแปรรูปตามสัณฐานเดิมด้วยการฟั่น ถัก ทอ สาน และทดลองแปรรูปสัณฐานของวัสดุด้วยการบดย่อย ผสมวัสดุเข้าด้วยกัน โดยมีกาวเป็นตัวประสานขึ้นรูปด้วยการอัดแม่พิมพ์ และขึ้นรูปแบบอัดแผ่นด้วยเครื่องอัดร้อน ตามมาตรฐาน (JIS A 3908-1994) ผลทดสอบคุณสมบัติด้านความต้านทานแรงดัดและมอดุลัสยืดหยุ่น พบว่าแผ่นประกอบที่ความหนาแน่น 850 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และผสมกาวร้อยละ 12 จะให้ค่าเฉลี่ยความต้านทานแรงดัด 14.24 นิวตันต่อตารางมิลิเมตร ปริมาณความชื้นร้อยละ 7.6 มอดุลัสยืดหยุ่น 1800 ความยึดเหนี่ยวของตะปูเกลียว 375.2 แรงยึดเหนี่ยวภายใน 0.18 การดูดซึมน้ำเวลา 2 ชั่วโมง ร้อยละ 8.2 มาตรฐานวัสดุยังไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน การนำไปใช้ควรใช้ในการตกแต่งสวยงามมากกว่ารับแรงกดหนัก ๆ |
Title Alternate | Developing materials from gramineae and agricultural wasted for application in product design |