การศึกษาศักยภาพของหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยเพื่อปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชตระกูลปอ

Titleการศึกษาศักยภาพของหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยเพื่อปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชตระกูลปอ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsฐิติพร ฌานวังศะ
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberNK ฐ341ก
Keywordsการออกแบบผลิตภัณฑ์--ไทย (ภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ), ปอ--การใช้ประโยชน์, หัตถกรรม--การออกแบบ, หัตถกรรม--ไทย (ภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ)
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน 5 ประการ ดังนี้ 1) ศึกษาและพิจารณาคัดเลือกชุมชนที่มีความต้องการในการพัฒนาและเป็นพื้นที่ที่การปลูกพืชตระกูลปอ 2) ศึกษาศักยภาพหัตถกรรมของชุมชร กรรมวิธี เทคนิค 3) พัฒนาแนวคิด และสร้างทฤษฎีใหม่ในการผลิต 4) นำความรู้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์มาสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 5) ประเมินและทดสอบความเป็นไปได้ในการนำผลิตภัณฑ์ สำหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกศักยภาพหัตถกรรมในชุมชน โดยกำหนดเป็นชุมชนที่ผลิตงานหัตถกรรมของชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย เพื่อปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชตระกูลปอ
จากการศึกษาศักยภาพหัตถกรรมของชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยที่มีการปลูกพืชตระกูลปอที่มีศักยภาพตามเกณฑ์ 4 ข้อ คือ 1) ชุมชนที่มีการปลูกปอ 2) ชุมชนที่ทำงานหัตถกรรมจากพืชตระกูลปอ 3) ชุมชนที่มีการปลูกพืชตระกูลปอและทำงานหัตถกรรมจากพืชตระกูลปอ และ 4) ชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (มผช.) และในการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ชุมชนที่มีศักยภาพตามเกณฑ์จากการสำรวจในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบไปด้วย 6 ชุมชน ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชนที่วิเคราะห์ความเหมาะสมในศักยภาพด้านแหล่งวัตถุดิบ เพียงพอ และมีศักยภาพทางด้านหัตถกรรม ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านสายใยปอ บ้านตอกแป้น ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นชุมชนที่เพาะปลูก และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชตระกูลปอ
ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาพบว่า พืชตระกูลปอเป็นพืชที่มีโอกาสการพัฒนาเข้าสู่ตลาดได้สูงมีคุณสมบัติแปรรูปตามศักยภาพของชุมชนได้ดีและหลากหลาย คือ มีความเหนียว อ่อนนุ่ม สามารถปลูกและขยายพันธุ์ได้ง่าย อีกทั้งยังได้ศึกษาการใช้เส้นใยของพืชอื่น ๆ ในภาคภูมิร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชตระกูลปอ ได้แก่ ปอ ฝ้ายนุ่น กัญชง ป่านศรนารายณ์ กล้วย สับปะรด มะพร้าว ใยไผ่ ข่า ใยบัว ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกพืชตระกูลปอเป็นเส้นใยหลักและเป็นกรณีศึกษาเนื่องจากผลการศึกษาพบว่าที่ผ่านมายังมีงานวิจัยและการพัฒนาจำนวนน้อยมาก
สำหรับแนวทางในการนำผลการวิจัยมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายด้วยกระบวนการการผลิตที่เกิดขึ้นใหม่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยพบว่าปอกระเจาสามารถนำมาถัก เย็บและออกแบบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หมวดเฟอร์นิเจอร์ หมวดสินค้าไลฟ์สไตล์ ตลอดจนหมวดสินค้าแฟชั่นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถเป็นเส้นใยทดแทนเป็นทางเลือกให้กับผู้ผลิตงานหัตถกรรมและผู้บริโภคงานหัตถกรรมได้ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องทั่วไปสามารถใช้ผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาให้สามารถใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมสอคล้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคมของแต่ละท้องถิ่นได้

Title Alternate A study on the potential development and evolution of handicrafts made from jute within a community in Northeast of Thailand
Fulltext: