หลักคุณธรรมในการบริหารองค์การ : กรณีศึกษาโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี

Titleหลักคุณธรรมในการบริหารองค์การ : กรณีศึกษาโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2553
Authorsอรชร ไหว้พรหม
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberLB อ317
Keywordsการศึกษา--อุบลราชธานี, ธรรมรัฐ, ผู้บริหารสถานศึกษา--การบริหาร--แง่ศีลธรรมจรรยา, ผู้บริหารโรงเรียน--การบริหาร--แง่ศีลธรรมจรรยา, ผู้อำนวยการโรงเรียน--การบริหาร--แง่ศีลธรรมจรรยา, โรงเรียน--การบริหาร--อุบลราชธานี, โรงเรียเบ็ญจะมะมหาราช--การบริหาร
Abstract

เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักคุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักคุณธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่/พนักงาน ผู้ประกอบการและผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 10500 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่/พนักงาน และผู้ประกอบการ จำนวน 216 คน กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ผู้ปกครองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 78 คน รวมทั้งสองกลุ่ม 294 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน ที่มีลักษณะคำถามเป็นแบบให้เลือกตอบ (Likert Scale) และสถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติเชิงอ้างอิงที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ค่า t-test และค่า F-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.4 (163) มีช่วงอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 52 (153) ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 61.9 (182) อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 64.6 (190) ตำแหน่งครูผู้สอน ร้อยละ 47.6 (140) และเคยเข้ารับการฝึกอบรมด้านคุณธรรม ร้อยละ 76.5 (225) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักคุณธรรมของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจะเห็นว่าทุกด้านอยู่ในระดับสูง ได้แก่ 1) ด้านปลอดคอร์รัปชั่น 2)ด้านปลอดจากการทำผิดวินับ 3) ด้านปลอดจากการทำผิดมาตรฐานวิชาชีพนิยมและจรรยาบรรณ และ 4)ด้านหลักความเป็นกลางของผู้บริหาร ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า เพศ อาชีพ ตำแหน่ง และการรับการฝึกอบรมด้านคุณธรรม มีระดับหลักคุณธรรมที่ไม่แตกต่างกัน และอายุ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับหลักคุณธรรมที่แตกต่างกัน

Title Alternate Morality in organizational administration: a case study of Benchama Maharat school, Ubon Ratchathani province
Fulltext: