Title | การบำบัดน้ำเสียปนเปื้อนฟีนอลด้วยเซลล์ดักติด |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2553 |
Authors | พงศธร ทวีธนวาณิชย์ |
Degree | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TD พ125 |
Keywords | น้ำเสีย--การบำบัด, ฟีนอล--การปนเปื้อน, เซลล์ดักติด |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบำบัดน้ำเสียที่มีฟีนอลปนเปื้อนโดยใช้เซลล์ดักติดด้วยสารแอลจิเนต การศึกษาครอบคลุมการหาเวลาที่เหมาะสมในการดักติดเซลล์ การบำบัดน้ำเสียที่มีฟีนอลปนเปื้อนด้วยถึงปฏิกรณ์เซลล์ดักติดรูปแบบต่าง ๆ การทดสอบถังปฏิกรณ์ที่คัดเลือกกับน้ำเสียจริง และการสังเกตโครงสร้างของเซลล์ที่ดักติดในระดับจุลภาค ผลการศึกษาเวลาที่เหมาะสมในการดักติดเซลล์พบว่า เซลล์ตะกอนเร่งที่ใช้เวลาดักติด 30 ถึง 60 นาที มีเสถียรภาพทั้งทางกลและทางเคมีและศักยภาพการบำบัดน้ำเสียสูงที่สุด รวมทั้งยังพบว่าเซลล์ดักติดด้วยแบเรียมแอลจิเนตบำบัดน้ำเสียดีกว่าแคลเซียมแอลจิเนตอย่างชัดเจน สำหรับขั้นตอนการประยุกต์ใช้ถังปฏิกรณ์เซลล์ดักติดใช้เซลล์ตะกอนเร่ง (1000 มิลลิกรัมต่อลิตร) และ Methylobacterium sp. NP3 (NP3) (107 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตร) ซึ่งมีความสามารถในการกำจัดฟีนอล น้ำเสียสังเคราะห์มีค่าซีโอดี 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และฟีนอล 5 50 และ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ถึงปฏิกรณ์ประกอบด้วย ถึงปฏิกรณ์เซลล์ตะกอนเร่งดักติดถังปฏิกรณ์ตะกอนเร่งที่เติมเซลล์ NP3 ดักติด ถังปฏิกรณ์เซลล์ร่วม ดักติด (ผสมตะกอนเร่งและ NP3 แล้วจึงดักติด) และถังปฏิกรณ์เซลล์ดักติดผสม (ผสมตะกอนเร่ง ดักติดและ NP3 ดักติด) ผลการทดลองพบว่า ถังปฏิกรณ์เซลล์ดักติดผสม (ผสมตะกอนเร่ง ดักติด และ NP3 ดักติด) ผลการทดลองพบว่า ถังปฏิกรณ์เซลล์ร่วมดักติดมีประสิทธิภาพกำจัดฟีนอลและซีโอดีได้สูงที่สุด (ร้อยละ 53 ถึง 100 และร้อยละ 71 ถึง 100 ตามลำดับ) ถังปฏิกรณ์เซลล์ร่วมดักติดมีประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียจริงสูงเช่นกัน โดยถังปฏิกรณ์ดังกล่าวสามารถบำบัดฟีนอลและซีโอดีได้ร้อยละ 90 ถึง 99 และร้อยละ 84 ถึง 99 ตามลำดับ สำหรับการศึกษาโครงสร้างระดับจุลภาคพบว่า วัสดุดักติดมีลักษณะเป็นรูพรุนจำนวนมาก ซึ่งสามารถกักเก็บเซลล์และส่งเสริมให้เซลล์สามารถเจริญอยู่ภายในวัสดุดักติดได้ ทั้งในสภาวะปกติหรือสารพิษปนเปื้อน ผลการศึกษาข้างต้นนี้บ่งชี้ศักยภาพในการประยุกต์ใช้ถังปฏิกรณ์เซลล์ร่วมดักติดในการบำบัดน้ำเสียทีมีฟีนอลปนเปื้อนในสถานการณ์จริงได้ |
Title Alternate | Treatment of phenol-contaminated wastewater uding entrapped cells |