Title | ยุทธศาสตร์การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนในชุมชนภาคอีสานตอนใต้ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2553 |
Authors | ยุทธนา หาระบุตร |
Degree | รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) |
Institution | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HC ย355 |
Keywords | ภาคอีสานตอนใต้, เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
Abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนในชุมชนภาคอีสานตอนใต้ โดยศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ศึกษาทางเลือกที่เป็นยุทธศาสตร์ในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ วิเคราะห์ปัจจัยยุทธศาสตร์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ประเมินความเป็นไปได้ในการนำยุทธศาสตร์การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติและนำเสนอยุทธศาสตร์การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติและนำเสนอยุทธศาสตร์การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนในชุมชนภาคอีสานตอนใต้ระดับปฏิบัติการตามลำดับ
ผลการวิจัย พบว่า ครัวเรือนในชุมชนภาคอรสานตอนใต้รับรู้และปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมในระดับมากเนื่องจากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักศาสนาพุทธ คำสอนอีสาน ปัจจัยการทำมาหากินที่ขาดแคลนและบทเรียนจากความล้มเหลวในการดำเนินชีวิตตามเศรษฐกิจกระแสหลัก
การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนมีจุดแข็งที่หัวหน้าครัวเรือนให้ความสำคัญ บุคคลในครัวเรือนเชื่อฟังหัวหน้า มีภูมิปัญญาพอเพียงในชุมชน ผู้นำชุมชนสนับสนุน กองทุนหมู่บ้านเข้มแข็ง วิทยุชุมชนเป็นของชุมชน มีศูนย์เรียนรู้ในชุมชน มีศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน มีศูนย์ OTOP และมีอาชีพหลักการเกษตร มีจุดอ่อนที่ผู้นำชุมชนไม่มีหน้าที่โดยตรง ชาวบ้านไม่เข้าใจแนวปฏิบัติ ผู้นำภูมิปัญญาพอเพียงขาดการส่งเสริม ศูนย์การเรียนรู้ไม่เข้มแข็ง ขาดกลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติไม่เป็นรูปธรรม ครอบครัวอ่อนแอ ขาดปัจจัยการผลิต ขาดความมั่นใจ ไม่ทำจริงและขาดการสืบทอดองค์ความรู้ และมีโอกาสที่เอื้อที่ชาวบ้านศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประเพณีและภูมิปัญญาอีสาน ค่านิยมรักบ้านเกิด บ้าน วัด โรงเรียนร่วมมือ ส่วนราชการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ภายนอกหลากหลาย การเมทองสนับสนุน และอุปสรรคที่เป็นภัยคุกคามสำคัญ คือ ค่านิยมบริโภคนิยม/เศรษฐกิจกระแสหลัก วัด โรงเรียน ภูมิปัญญายังไม่ร่วมมือ การส่งเสริมจากภาครัฐขาดเอกภาพ แหล่งเรียนรู้ทางไกล สื่อภายนอกกว้างไม่เจาะจง การประสานความร่วมมือไม่เป็นระบบ นโยบายส่งเสริมขาดความชัดเจนในแนวปฏิบัติ ความขัดแย้งของการเมืองท้องถิ่น สื่อโฆษณาบริโภคนิยม ความทันสมัย และงบประมาณสนับสนุนจำกัด
บุคคลพอเพียง ครอบครัวพอเพียงและชุมชนพอเพียงเป็นเป้าประสงค์ของการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ การขับเคลื่อนต้องใช้ยุทธศาสตร์คัดสรร 5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1)ยุทธศาสตร์การปฏิบัติจริงและการเรียนรู้: ให้บุคคล ครอบครัวปฏิบัติจริงและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งการปฏิบัติตนและการประกอบอาชีพ 2)ยุทธศาสตร์การสร้างธรรมเนียมครัวเรือน : ให้แต่ละครัวเรือนร่วมกำหนดและปฏิบัติตามธรรมเนียมพอเพียงของครัวเรือน 3)ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแบบมีส่วนร่วมและพึ่งตนเอง : ให้ชุมชนขับเคลื่อนการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบโดยเน้นความเข้าใจ เข้าถึง การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและการพึ่งตนเอง 4)ยุทธศาสตร์การเสริมแรงด้วยความสำเร็จ : ใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนและความสำเร็จเป็นตัวเสริมแรงให้มีการเสริมแรงด้วยความสำเร็จ : ใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนและความสำเร็จเป็นตัวเสริมแรงให้มีความกระตือรือร้นและกำลังใจและพัฒนาการปฏิบัติปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการขับเคลื่อนจะประสบความสำเร็จภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 3 เงื่อนไข ประกอบด้วยเงื่อนไขทางวัฒนธรรม เงื่อนไขความจงรักภักดีในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเงื่อนไขการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและการพึ่งตนเองของครอบครัวและชุมชน
|
Title Alternate | The study of strategies for enhancing family practice in sufficient economy in Southern Isan community |