การบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Titleการบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsจิระนุช สินทวี
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHG จ517
Keywordsสหกรณ์ออมทรัพย์--การบริหาร--ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สหกรณ์ออมทรัพย์--การบริหารความเสี่ยง
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด จำนวน 108 คน ที่มีต่อการบริหารความเสี่ยงและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์ที่มีทุนดำเนินงาน จำนวนเจ้าหน้าที่ จำนวนสมาชิกและระยะเวลาการดำเนินงานที่แตกต่าง และศึกษาผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงกับประสิทธิภาพในการำเนินงาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคุณ
ผลการวิจัยพบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ส่วนใหญ่มีทุนดำเนินงานอยู่ระหว่าง 701-2000 ล้านบาท มีเจ้าหน้าที่น้อยกว่า 7 คน มีจำนวนสมาชิกอยู่ระหว่าง 1000 ถึง 1600 คน และมีระยะเวลาดำเนินงานถึงปัจจุบันเป็นเวลา 37 ปีขึ้นไป ผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มีความคิดเห็นดังนี้
การบริหารความเสี่ยงโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับสูงสุดจากมากไปหาน้อย คือ การบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ ผู้บริหารสหกรณ์ให้ความสำคัญในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อแก่สมาชิกโดยผ่านการพิจารณาอนุมัติทุกครั้ง ให้ความสำคัญในการกำหนดประเภทสินเชื่อวงเงินสูงสุดต่อราย จำนวนหลักประกันและการค้ำประกัน การบริหารความเสี่ยงด้านผลตอบแทน ผู้บริหารสหกรณ์ให้ความสำคัญในการพิจารณากำหนดแผนโครงการระดมเงินทุน แผนการกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ต้องการเงินทุนจากสหกรณ์ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนที่จะได้รับ การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ผู้บริหารสหกรณ์ให้ความสำคัญในการกำหนดระเบียบงานหรือคู่มือในการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงินสด วงเงินในการปฏิบัติงานประจำวัน และให้ความสนใจในการติดตามและรายงานความต้องการกระแสเงินสดสุทธิและสถานะเงินสดประจำวันและเงินฝากในบัญชีสหกรณ์
ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยภาพรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ คือ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ให้ความสำคัญกับการมุ่งมั่นพัฒนาของเจ้าหน้าที่สหกรณ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อองค์กร การพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านกระบวนการภายใน ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมายสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการฟ้องร้องจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับการชำระหนี้ของสมาชิกที่เป็นไปตามกำหนดสัญญา และประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการเงิน ให้ความสำคัญกับการเพิ่มขึ้นของทุนดำเนินงาน รายได้จากการดำเนินธุรกิจและมูลค่าทรัพย์สินรวมอย่างต่อเนื่อง
การเปรียบเทียบการบริหารความเสี่ยงและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีทุนดำเนินงาน จำนวนเจ้าหน้าที่ จำนวนสมาชิก และระยะเวลาดำเนินงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและด้านการปฏิบัติการมีผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพในการดำเนินการโดยรวม และประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านลูกค้า (สมาชิก) การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการเงิน การบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อมีผลกระทบกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการเงิน การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการมีผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านกระบวนการภายใน และการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อมีผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการเรียนรู้และการพัฒนา
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สหกรณ์ควรมีการประเมินความเสี่ยง เพื่อลดและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับการบริหารจัดการสหกรณ์ ควรมีการติดตามความเปลี่ยนแปลงจากภายนอกในส่วนที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสหกรณ์ และเพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านสินเชื่อ สมาชิกควรมีการออมเงินไว้ให้กับสหกรณ์ทุกคนนอกเหนือจากการกู้ยืม การบริหารจัดการต้องยึดหลักการและอุดมการณ์สหกรณ์ ไม่ควรเป็นการบริหารงานตามกระแสนิยม หรือนำวิธีการทางการเงินเข้ามาใช้ในระบบสหกรณ์ การบริหารสหกรณ์ หากปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของสหกรณ์ มุ่งเน้นถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักแล้ว ปรับกลยุทธ์ในการให้บริการสมาชิกเพื่อให้สามารถแข่งขันกับสถาบันการเงินอื่นได้

Title Alternate Risk management of savings cooperatives in the Northeastern region
Fulltext: