ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาที่ถ่ายโอนสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

Titleประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาที่ถ่ายโอนสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsดวงเนตร สำราญวงศ์
Degreeรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberLB ด197
Keywordsการจัดการศึกษา--นครราชสีมา, การถ่ายโอนสถานศึกษา--นครราชสีมา
Abstract

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนสถานศึกษาให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยศึกษาจากกรณีกานถ่ายโอนสถานศึกษาให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในด้านการบริหารจัดการศึกษาและนำไปสู่การแสวงหาแนวนโยบายที่เหมาะสมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นในอนาคตการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาที่ถ่ายโอนให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 19 คน ประธานกรรมการสถานศึกษาจำนวน 18 คน ผู้รับผิดชอบในหน่วยงานที่ถ่ายโอนสถานศึกษาได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา (สพม.) จำนวน 3 คน และผู้รับผิดชอบในหน่วยงานผู้รับโอนสถานศึกษา คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 4 คน
ผลการศึกษาพบว่า
1)ปัญหาและอุปสรรคหลังการถ่ายโอนภารกิจการจัดการศึกษาให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เกิดจากความไม่พร้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในการบริหารจัดการสถานศึกษาสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่บุคลากรได้รับล่าช้ากว่าเดิม โดยเฉพาะไม่สามารถเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลกระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณและการบริหารงานบุคคลที่ล่าช้ามีขั้นตอนมาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดขาดความต่อเนื่องของนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาที่ชัดเจนขาดโครงสร้างองค์กรและบุคลากรที่มีความรู้เพื่อรองรับภารกิจด้านการจัดการศึกษา ขาดการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการและปัญหาสมรรถนะในการสอนของบุคลากรครู
2)ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาได้แก่ขวัญและกำลังใจของบุคลากรทางการศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กฎระเบียบที่เอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการศึกษาโครงสร้างองค์กรและนักวิชาการศึกษาเพื่อรองรับภารกิจด้านการจัดการศึกษา งบประมาณที่เพียงพอสำหรับการดำเนินการภารกิจด้านการจัดการศึกษาการจัดซื้อจัดจ้างให้ตรงกับความต้องการของโรงเรียนวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและนโยบายการศึกษาที่ชัดเจนและต่อเนื่องการยึดหลักธรรมาภิบาลในกระบวนการแต่งตั้ง โยกย้ายและพิจารณาความดีความชอบบุคลากรครูที่มีความพร้อมมีคุณภาพและทุ่มเทและการสนับสนุนจากหน่วยงาน ?พี่เลี้ยง? คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาและกระทรวงศึกษาธิการ
3)ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลในการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ โดยรวม ได้แก่ 1)การจัดการศึกษาของท้องถิ่นควรจัดเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในลำดับต้น เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาที่จัดให้แก่นักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ 2)รัฐบาลควรปรับปรุงกระบวนการกระจายอำนาจการศึกษา โดยใช้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานในระดับจังหวัดมีหน้าที่สนับสนุนหรือเป็น ?พี่เลี้ยง? ให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3)กระทรวงมหาดไทยควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการเบิกจ่ายเงินหรือการพัสดุฯหรือจัดให้มีระเบียบว่าด้วยการเงินและการพัสดุฯใหม่ที่เหมาะสมสำหรับให้สถานศึกษาถือปฏิบัติ 4)องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาต้องจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานการศึกษาซึ่งสามารถปฏิบัติงานและให้คำแนะนำแก่สถานศึกษาได้อย่างแท้จริง 5)องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานของบุคลากรในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงกระบวนการบริการงบประมาณและการบริหารงานบุคคลที่ล่าช้า 6)องค์การบริหารส่วนจังหวัดควรเสริมสร้างความโปร่งใสและความยุติธรรมในกระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหาร การพิจารณาคำขอโอนย้าย และการพิจารณาความดีความชอบ 8)องค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน วัด สถาบันอาชีวศึกษาและหน่วยงานราชการอื่น 9)องค์การบริหารส่วนจังหวัด ควรปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับภารกิจด้านการจัดการศึกษา โดยจัดตั้งหน่วยเฉพาะเพื่อรับผิดชอบการบริหารงานด้านการศึกษาหรือยกระดับกองการศึกษาฯ
4)ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคตได้แก่ 1)การศึกษาวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่รับถ่ายโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการมาไม่น้อยกว่า 5 ปี 2)ศึกษาการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ประสบความสำเร็จ เพื่อค้นหาแบบปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และสังเคราะห์เป็นบทเรียนและแบบอย่างให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั้งเครือข่ายกับภาคส่วนต่าง ๆ ภายในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเอง และเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 4)ศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางในการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สถานศึกษาที่ถ่ายโอนมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสถานะเป็นนิติบุคคลได้ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นในการบริหารสถานศึกษาในระยะยาว

Title Alternate The management effectiveness of schools transferred to Nakhonratchasima provincial adminstrative organization
Fulltext: