ความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเตอร์เน็ต

Titleความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเตอร์เน็ต
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsนิธินาถ วงศ์สวัสดิ์
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHG น613
Keywordsการซื้อขายหลักทรัพย์ทางอิเล็กทรอนิกส์, หุ้นและการเล่นหุ้น
Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา ความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล การใช้งานคอมพิวเตอร์ และการลงทุนที่มีผลต่อความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต 2) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ตามแบบจำลองที่ 1 3)ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ตามแบบจำลองที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ความเสี่ยง และความตั้งใจในการซื้อขายอินเตอร์เน็ต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.899 0.928 0.924 และ 0.964 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบค่าความแตกต่างเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีการเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบเชฟเฟการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ความถดดอยอย่าง และความถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ผู้ที่ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จำนวน 300 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 56.0) อายุ 31-40 ปี (ร้อยละ 36.0) มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและต่ำกว่า (ร้อยละ 61.3) เป็นพนักงานบริษัทเอกชน (ร้อยละ 45.3) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 50,000 บาท (ร้อยละ 63) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ในระดับทั่วไป (ร้อยละ 80.7) มีการใช้คอมพิวเตอร์ มากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 38.7) และมีการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 27.7) โดยกลุ่มตัวอย่างมีมูลค่าเงินออมและหลักทรัพย์ที่มีไว้เพื่อลงทุนต่ำกว่า 1 ล้านบาท (ร้อยละ 60.7) มีประสบการณ์ลงทุนในหลักทรัพย์ประมาณ 1-5 ปี (ร้อยละ 44.3) มีประสบการณ์การใช้บริการทางธนาคารออนไลน์ประมาณ 1-5 ปี (ร้อยละ 39.3) มีประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตในการซื้อขายหลักทรัพย์น้อยกว่า 1 ปี (ร้อยละ 48.0) โดยมีความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ตในการซื้อขายหลักทรัพย์น้อยกว่า 2 ครั้งต่อวัน (ร้อยละ 58.7) ใช้อินเทอร์เน็ตที่บ้านในการซื้อขายหลักทรัพย์ (ร้อยละ 38.9) ใช้โน๊ตบุ๊กในการซื้อขายหลักทรัพย์ (ร้อยละ 30) และใช้เลือกการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการซื้อขายหลักทรัพย์ (ร้อยละ 76.3) โดยปัจจัยด้านประสบการณ์การใช้บริการทางธนาคารออนไลน์ ด้านประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตในการซื้อขายหลักทรัพย์ และด้านวิธีการที่เหมาะสมมากที่สุดที่เลือกใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์มีผลต่อความตั้งในในการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ตามแบบจำลองที่ 1 พบว่า การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ ความง่ายในการใช้งาน และการรับรู้ความเสี่ยงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ร้อยละ 44.70 ส่วนการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ตามแบบจำลองที่ 2 พบว่า การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความเสี่ยงมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความตั้งใจในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ร้อยละ 31.60

Title Alternate Intention tow ards internet trading
Fulltext: