Title | พฤติกรรมรอยต่อแบบเปียกของคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2554 |
Authors | ภาคิณ ลอยเจริญ |
Degree | วศ.ม (สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา) |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TA ภ416พ |
Keywords | คอนกรีตเสริมเหล็ก, คานคอนกรีต |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการวิบัติรอยต่อแบบเปียกของคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป เปรียบเทียบกับรอยต่อแบบต่อเนื่องและศึกษาปฏิสัมพันธ์ของแรงเฉือนและแรงดัดในผิวสัมผัสของคอนกรีตรอยต่อ การศึกษาประกอบด้วยการทดสอบกำลังแรงรับเฉือนตรงของผิวสัมผัสรอยต่อ การทดสอบกำลังรับโมเมนต์ดัดและกำลังรับแรงเฉือนร่วมโมเมนต์ดัดของรอยต่อ ในการทดสอบกำลังรับแรงเฉือน ตัวอย่างทดสอบถูกออกแบบให้มีผิวสัมผัสเรียบ หยาบ และแบบ Shear key ในรูปแบบที่เสริมเหล็กเดือยและไม่เสริมเหล็กเดือย จากการศึกษาพบว่า ผิวสัมผัสแบบ Shear key เสริมเหล็กเดือยในแนวขนานกับทิศการเฉือนให้กำลังต้านทานแรงเฉือนสูงสุด ในการทดสอบกำลังรับโมเมนต์ดัดพบว่า รอยต่อแบบเปียกไม่มีผลต่อกำลังรับโมเมนต์ดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปในกรณีที่มีเหล็กเสริมรับแรงดึงยาวต่อเนื่องและกรณีต่อเหล็กเสริมรับแรงดึงโดยการเชื่อมทาบในรอยต่อ ส่วนรอยต่อที่ใช้เหล็กเสริมวางทาบและงอฉากสามารถรับแรงดัดได้ในระดับหนึ่ง แต่จะวิบัติแบบฉับพลันจากผลของแรงยึดเหนี่ยวในการทดสอบกำลังแรงเฉือนร่วมโมเมนต์ดัดของรอยต่อ พบว่า กำลังรับโมเมนต์ดัดของรอยต่อมีค่าลดลง และการเสริมเหล็กเดือยผ่านผิวสัมผัสเพื่อรับแรงเฉือนของรอยต่อจะส่งผลให้รอยต่อรับโมเมนต์ดัดได้มากขึ้น สำหรับการงอฉากปลายเหล็กเดือยในรอยต่อจะช่วยเพิ่มกำลังยึดเหนี่ยว ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการรับแรงเฉือนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รอยต่อสามารถพัฒนากำลังรับโมเมนต์ดัดได้ใกล้เคียงรอยต่อแบบต่อเนื่อง ในกรณีที่ทำผิวสัมผัสแบบShear key พร้อมเสริมเหล็กเดือย ทำให้ประสิทธิภาพกำลังรับโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนของคานที่มีรอยต่อเพิ่มขึ้นเทียบเคียงกับกำลีงของคานที่มีรอยต่อแบบต่อเนื่อง |
Title Alternate | Behavior of wet joints of precast reinforced concrete beam |