การบูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของ 4 ชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเสนอรูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้

Titleการบูรณาการองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของ 4 ชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเสนอรูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsร้อยขวัญพุทธ มุ่งมาจน
Degreeปร.ด.(สาขาวิชาพัฒนาบูรณาการศาสตร์)
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberGT ร192
Keywordsภูมิปัญญาชาวบ้าน, ภูมิปัญญาชาวบ้าน--ฐานข้อมูล, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, อุบลราชธานี
Abstract

วัตถุของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำเสนอรูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ในบริบทภาคอีสาน โดยการศึกษาภาพรวมชุมชนในภาคอีสาน และกรณีศึกษา 1 ชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีความแตกต่างกันในเรื่องระบบความรู้และภูมิปัญญาอย่างชัดเจน ประกอบด้วย 1)ชุมชนทั่วไป ได้แก่ ชุมชนบ้านดอนหมู และชุมชนบ้านตำแย 2)ชุมชนชาวอโศก ได้แก่ ชุมชนราชธานีอโศก และชุมชนฝึกฝนเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยนี้ใช้หลักการวิจัยเชิงบูรณาการศาสตร์แนวคิดเชิงระบบ และรูปแบบการวิจัยคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการให้ความเห็น โดยผู้เชี่ยวชาญต่อรูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สังเคราะห์ขึ้น
ผลการวิจัย การสร้างรูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มองหลายมิติทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ พุทธศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ได้รูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ใช้กับชุมชนทั่วไปและชุมชนชาวอโศก คือ การประสานความร่วมมือกันอย่างกลมกลืนระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน อาศัยปัจจัยนำเข้า คือ (1)แหล่งความรู้ ได้แก่ คน และกิจกรรมต่าง ๆ มีกระบวนการเรียนรู้หลายรูปแบบ แล้วนำมาลงมือปฏิบัติจริงและใช้ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ ทำให้เกิดความรู้ในตัวคน สั่งสมเป็นพลังปัญญา ส่งผลให้รอดพ้นจากภัยคือปัญหาที่มีอยู่ สำหรับชุมชนทั่วไปใช้กระบวนการเสริม คือ การรวมกลุ่มประกอบกิจกรรม การพัฒนาบุคลากร การคัดกรองความรู้ที่มาจากภายนอก การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ใช้หลักประชาธิปไตยและการวิจัยแบบชาวบ้าน การร่วมกันดูแลเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้ป่วย สำหรับชุมชนชาวอโศกใช้กระบวนการเสริม คือ การลดกามลดอัตตา การนำแนวคิดที่ประสบผลสำเร็จแล้วมาปรับใช้และพัฒนาให้เหมาะสม การเพิ่มด้านวิชาการในฐานงานของชุมชน ร่วมมือกับองค์กรจิตอาสา การวิจัย การใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสในการบำเพ็ญบุญ การนำรูปแบบใหม่ของชุมชนแห่งการเรียนรู้มาใช้ ชุมชนต้องร่วมกันพิจารณาและมีการวิจัยร่วมด้วย ในการปรับใช้ให้เหมาะสมกับโครงสร้างและบริบทของชุมชน

Title Alternate A new model of learning community: integration of knowledge and local wisdom of 4 communities in Ubon Ratchathani province