Title | การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้กำกับการดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเป้า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2554 |
Authors | ศิริศิลป์ บุตรจันทร์ |
Degree | รป.ม (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) |
Institution | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HQ ศ491 |
Keywords | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก--การบริหาร, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
Abstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเป้า ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานและมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเป้า และเปรียบเทียบปัจจัยภูมิหลังที่แตกต่างกันของบุคลากรและประชาชนกับมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเป้า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จำนวน 155 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงความครอบคลุมของเนื้อหา พบว่า ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้ =.50 ขึ้นไปทุกข้อ และค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (Coefficient) ในภาพรวมเท่ากับ .79 ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มขึ้นไป ด้วย t-test ทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร 3 กลุ่มขึ้นไปด้วยวิธี F-test วิเคราะห์ค่าความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD และทดสอบหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามด้วยวิธี Correlate
ผลการศึกษาพบว่า
1.การดำเนินการตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเล็กลงภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเป้า พบว่า ผลโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มาตรฐานด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร รองลงมา คือ มาตรฐานด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มาตรฐานด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย
2.ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์ฯ ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเป้า ผลการศึกษาพบว่าผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีร่างกายเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย รองลงมา คือ เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพจิตดี มีความสุข และมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกริยามารยาทที่ดีขึ้น
3.ผลการศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเป้ากับปัจจัยภูมิหลังของบุคลากรและประชาชน พบว่า บุคลากรและประชาชนที่มีเพศ และสถานภาพที่เกี่ยวข้องกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความคิดเห็นในมาตรฐานด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยแตกต่างกัน บุคลากรและประชาชนที่มีสถานภาพที่เกี่ยวข้องกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อมาตรฐานด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรแตกต่างกัน บุคลากรและประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อมาตรฐานในด้านการมีส่วนร่วม การสนับสนุนจากทุกภาคส่วนแตกต่างกัน และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเป้ากับปัจจัยภูมิหลังของบุคลากรและประชาชน พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4.ข้อแนะนำที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเป้านั้นเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรบริหารส่วนตำบล สำหรับในด้านบุคลากรควรนั้นควรมีการเพิ่มเงินสนับสนุนแก่ครูและผู้ช่วยผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน และควรให้ครูและผู้ช่วยดูแลเด็กเล็กได้เข้ารับการอบรมเรื่องการดูแลสุขภาพเด็กที่ป่วยด้วยโรคง่าย ๆ จากหน่วยงานสาธารณสุข ถ้าเป็นไปได้ครูและผู้ช่วยผู้ดูแลเด็กเล็กควรมีการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญาตรี และควรได้รับการอบรมเพิ่มเติมส่งเสริมความสามารถในการดูแลเด็กเล็กเพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้การกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเป้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
|
Title Alternate | Children development center of local adminstrative organization :the case study of Pao subdistrict administrative organization in Trakan Phutphon in Ubon Ratchathani Province |