การปรับปรุงกระบวนการผลิตท่อสูบน้ำด้วยวิธีการวางผังโรงงาน

Titleการปรับปรุงกระบวนการผลิตท่อสูบน้ำด้วยวิธีการวางผังโรงงาน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsสุพัฒน์ แนวจำปา
Degreeวท.ม (สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTS ส831ก
Keywordsการวางผังโรงงาน--การออกแบบ, โรงงาน--การจัดการ, โรงงาน--การวางแผน, โรงงาน--การออกแบบและการสร้าง
Abstract

งานวิจัยฉบับนี้ได้ศึกษาปัญหาในโรงงานกรณีศึกษา ซึ่งมีการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่อพ่วงของรถไถนาเดินตามและท่อสูบน้ำแบบท่อพญานาคมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เมื่อกาลเวลาผ่านไปวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของเกษตรกรก็เปลี่ยนแปลง ความต้องการอุปกรณ์ต่อพ่วงของรถไถนาเดินตามมีน้อยลง แต่ท่อสูบน้ำแบบท่อพญานาคกลับมีความต้องการมากขึ้น ทางโรงงานจึงประสบปัญหาผลิตท่อสูบน้ำไม่ทันกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของกระบวนการผลิตท่อสูบน้ำแบบท่อพญานาค และแนวทางแก้ไขปัญหาให้สามารถผลิตท่อสูบน้ำได้ทันกับความต้องการที่มากขึ้น ช่วยลดเวลาในการผลิตและช่วยลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ผังโรงงานของสายการผลิตท่อสูบน้ำแบบท่อพญานาคแบบเดิม ไม่เหมาะสมกับความต้องการที่มากขึ้น มีระยะทางการขนถ่ายวัสดุมากและการไหลของวัสดุค่อนข้างวกวน วิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาเริ่มจากการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตและผังโรงงานแบบเดิมอย่างละเอียด ทำการออกแบบปรับปรุงผังโรงงานใหม่เพื่อเลือกนำไปใช้งาน จากการที่ได้ทำการปรับปรุงผังโรงงานมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งสถานีงานตำแหน่งเครื่องจักรให้มีความเหมาะสม และคำนึงถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมโดยจัดวางเครื่องจักรในผังโรงงานที่ออกแบบใหม่ไว้ 3 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 มีลักษณะใกล้เคียงกับแบบตามกระบวนการผลิต (Process Layout) แบบที่ 2 มีลักษณะใกล้เคียงกับแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์ (Product Layout) และแบบที่ 3 เป็นแบบผสม (Mixed Layout) ซึ่งผสมผสานระหว่างแบบที่ 1 และ 2 โดยมีการนำโปรแกรมจำลองสถานการณ์มาใช้ในการเปรียบเทียบผลของผังโรงงานก่อนปรับปรุง และผังโรงงานที่ออกแบบใหม่ทั้ง 3 แบบ ที่เสนอเป็นทางเลือก
จากการนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบผลรวมเวลาในการขนถ่ายวัสดุและเวลารวมที่ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อดูว่าการจัดผังโรงงานแบบใดให้ผลดีที่สุด ผลปรากฏว่าผังโรงงานหลังปรับปรุง แบบที่ 3 ซึ่งเป็นการวางผังโรงงานแบบผสมมีระยะทางของการขนถ่ายวัสดุลดลงมากที่สุด โดยในการผลิตท่อสูบน้ำ 1 ชุด ใช้เวลาในการขนถ่านวัสดุรวมลกลงจากผังโรงงานเดิมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.02 มีเวลารวมในกระบวนการผลิตลดลงจากผังโรงงานเดิมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 7.49 ซึ่งจะทำให้ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าแรงที่เกิดจากการขนถ่ายวัสดุให้ลดลงจากจากเดิมได้มากที่สุด จึงสมควรที่จะเลือกผังโรงงานแบบที่ 3 ไปใช้ในการปรับปรุงผังโรงงานของกระบวนการผลิตท่อสูบน้ำในโรงงานกรณีศึกษา

Title Alternate Water pump pipe production improvement by using plant layout
Fulltext: