ผลการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย เรื่องไฟฟ้าเคมี เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Titleผลการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย เรื่องไฟฟ้าเคมี เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsอุบลวรรณ ไท้ทอง
Degreeวท.ม (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา)
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQD อ385
Keywordsการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน, ไฟฟ้าเคมี
Abstract

การทำปฏิบัติการเคมีซึ่งนักเรียนทำตามขั้นตอนในหนังสือ อาจทำให้ไม่เข้าถึงเนื้อหาสำคัญที่ครูต้องการ กลวิธีทำนาย-สังเกต-อธิบาย ช่วยให้นักเรียนได้ทำนายผลการทดลองส่วนที่สำคัญที่สุดในการทดลองเป็นอันดับแรก จึงเป็นการเตรียมตัวที่ดีให้กับนักเรียนก่อนลงมือทำปฏิบัติการทั้งหมด ทั้งยังพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียน 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรื่องไฟฟ้าเคมีด้วยการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย แบบแผนการวิจัยที่ใช้คือการทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 47 คน โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์การประเมินสูงกว่าร้อยละ 60 โดยมีทักษะการสังเกตมากที่สุดแต่ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปน้อยที่สุด 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Title Alternate Effects of predict-observe-explain in electrochemistry to improve scientific process skill and attitude toward teaching of twelveth grade students
Fulltext: