Title | การพัฒนาใช้รังสีอินฟาเรดเพื่อกำจัดแมลงในข้าวขาวดอกมะลิอินทรีย์ 105 |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2555 |
Authors | วิทยา อินทร์สอน |
Degree | ปร.ด.(สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ) |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | SB ว582 |
Keywords | ข้าว--โรคและศัตรูพืช, ข้าวขาวดอกมะลิ 105--การปลูก--นวัตกรรมทางเทคโนโลยี, ข้าวขาวดอกมะลิ 105--การปลูก--เทคโนโลยีที่เหมาะสม, รังสีอินฟาเรด |
Abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาใช้รังสีอิฟราเรดเพื่อกำจัดแมลงในข้าวขาวดอกมะลิอินทรีย์ 105 โดยการพัฒนาออกแบบเครื่องฉายรังสีอินฟราเรดมาเพื่อจัดการด้วงงวงข้าวในข้าวสารและรวมไปถึงการวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุนของเครื่องต้นแบบฉายรังสีอินฟราเรด การออกแบบเครื่องต้นแบบเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูล และสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ในการหาแนวทางเลือกต้นแบบเครื่องฉายรังสีอินฟราเรด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP) พบว่า ทางเลือกที่มีความสำคัญสูงสุด คือ เครื่องแบบระบบสายพานลำเลียง จากนั้นเป็นการประยุกต์ใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ (QFD) เริ่มจากการนำเสียงของลูกค้าที่ได้มาจากการสัมภาษณ์และระบุความต้องการมาจัดทำเป็นแบบสอบถาม เพื่อประเมินลำดับความสำคัญของความต้องการและความพึงพอใจลูกค้า พบว่า ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องฉายรังสีอินฟราเรด มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์ ก่อนพัฒนา 3.76 และหลังพัฒนา 4.46 หลังการพัฒนามีต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.86 การออกแบบเครื่องฉายรังสีเครื่องต้นแบบถูกออกแบบให้ใช้ระบบสายพานลำเลียงหลอดอินฟราเรดกำลัง 1000 วัตต์ จำนวน 2 หลอด ทำการทดลองกำจัดด้วงงวงข้าวในข้าวขาวดอกมะลิอินทรีย์ 105 ด้วยการออกแบบการทดลองแบบ Box Behnken Design จำนวนการทดลอง 27 ครั้ง และทดลองซ้ำ 2 ครั้ง ปัจจัยที่ศึกษา 4 ปัจจัย คือ อุณหภูมิ ระยะห่างของหลอดกับข้าวสาร ความหนาชั้นข้าวบนสายพาน และความถี่อินเวอร์เตอร์ ในการกำจัดมอดนะยะทาง 100 เซนติเมตร พบว่า ค่าที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิฉายรังสี 85 องศาเซลเซียส ระยะห่างของหลอดกับข้าวสาร 15 เซนติเมตร ความหนาข้าวบนสายพาน 1 เซนติเมตร ความถี่อินเวอร์เตอร์ 27.5 เฮริช์ มีประสิทธิภาพการกำจัดด้วงงวงข้าวร้อยละ 100 ภายในระยะเวลา 1 นาที 33 วินาที หลังการฉายรังสีข้าวไม่มีการแตกหักเนื่องจากความร้อนจากการฉาย โดยคุณภาพข้าวทางกายภาพหลังฉายรังสี พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ คุณภาพข้าวทางเคมีหลังฉายรังสี พบว่า ค่าโปรตีนเพิ่มขึ้นมากกว่ามาตรฐานเล็กน้อย ไขมันลดลงเล็กน้อย ส่วนปริมาณคาร์โบไฮเดรต เยื่อใย และเถ้าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ คุณภาพข้าวหุงต้มหลังฉายรังสี พบว่า มีปริมาณอะมิโลสเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ความคงตัวของแป้งสุกระดับปานกลาง ส่วนอัตราการยืดตัวของข้าวสุก และกลิ่นหอมไม่เปลี่ยนแปลง ระยะเวลาคืนทุนของเครื่องฉายรังสีอินฟราเรด ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1 ปี 2 เดือน การใช้รังสีอินฟราเรดในการกำจัดแมลงมีต้นทุนเฉลี่ย 1.65 บาท/กิโลกรัม |
Title Alternate | The development of infrared radiation in disinfestations of the organic Khao Dawk Mali rice 105 |