ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเบื้องต้นโดยสารรวมตะกอนและไมโครฟิลเตรชัน

Titleประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเบื้องต้นโดยสารรวมตะกอนและไมโครฟิลเตรชัน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsอรุณ พันธ์กว้าง
Degreeวศ.ม (สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD อ399
Keywordsน้ำ--การทำให้บริสุทธิ์--การกรอง, น้ำ--การนำกลับมาใช้ใหม่, น้ำเสีย--การบำบัด, ไมโครฟิลเตรชัน
Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเบื้องต้น โดยสารรวมตะกอนและไมโครฟิลเตรชัน โดยการนำน้ำผิวดินที่มีความขุ่นต่ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติหนองอีเจมในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี น้ำผิวดินนำมาผ่านการบำบัดน้ำเบื้องต้นด้วยกระบวนการรวมตะกอนโดยใช้อะลูมิเนียมซัลเฟต (Al2(SO4)3)) เฟอร์ริกคลอไรด์ (FeCl3) และโพลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ (PACl) จากนั้นนำน้ำที่ผ่านการบำบัดเบื้องต้นไปผ่านกระบวนการกรองเมมเบรนแบบไมโครฟิลเตรชัน โดยทำการศึกษาชนิดสารเคมีและค่า pH ที่มีผลต่อการลดค่าฟลักซ์และการกำจัดความขุ่นของน้ำผิวดิน ผลการศึกษาพบว่า สารเคมีที่ทำให้การลดลงของฟลักซ์น้อยที่สุดได้แก่ สาร FeCl3 มีความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร สาร Al2(SO4)3 มีความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และสาร PACl ที่ความเข้มข้น 400 มิลลิกรัมต่อลิตร ประมาณร้อยละ 25.96, 25.88 และ 18.35 ตามลำดับ ค่าการกำจัดความขุ่นของสาร FeCl3 ที่ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร สาร PACl ที่ความเข้มข้น 300 มิลลิกรัมต่อลิตร และ Al2(SO4)3 ที่ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ประมาณร้อยละ 44.87, 43.67 และ 36.14 ตามลำดับ
ค่าการลดลงของฟลักซ์น้อยที่สุดของสาร PACl คือ ที่ค่า pH 5 ความเข้มข้น 400 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับสาร Al2(SO4)3 คือที่ pH 4 ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และสาร FeCl3 คือที่ pH 7 ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ค่าเท่ากับร้อยละ 17.35, 14.07 และ 6.61 ตามลำดับ ค่าการกำจัดความขุ่นที่สูงสุด ได้แก่ Al2(SO4)3 ที่ pH 4 ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร สาร FeCl3 ที่ pH 7 ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และสาร PACl ที่ pH 4 ความเข้มข้น 400 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งให้ค่าการกำจัดความขุ่นเท่ากับร้อยละ 85.62, 49.56 และ 31.04 ตามลำดับ

Title Alternate Performance of pretreatment using coagulation and microfiltration
Fulltext: