การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน สำหรับนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช

Titleการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน สำหรับนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsเบญจรัตน์ สุคำภา
Degreeวท.ม (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา)
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQ บ786
Keywordsการเรียนรู้แบบโครงงาน--กิจกรรมการเรียนการสอน, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), วิทยาศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน, โครงงานวิทยาศาสตร์
Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน 5 ด้าน คือ 1)การตั้งสมมติฐาน 2)การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ 3)การกำหนดและควบคุมตัวแปร 4)การออกแบบและดำเนินการทดลอง และ 5)การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบเจาะจง จำนวน 24 คน ระยะเวลาศึกษาคือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยปรากฏว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความก้าวหน้าทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 0.73 ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่อยู่ในระดับสูง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน ด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี จึงสมควรสนับสนุนให้ครูนำการจัดกิจกรรมแบบนี้ไปใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ต่อไป

Title Alternate The enhancement of integrated science process skills in science students on the topic of plant life through project-based science learning
Fulltext: