Title | แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานวิทยุชุมชนต้นแบบ : กรณีศึกษาวิทยุชุมชน วัดบ้านหนองหลัก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2554 |
Authors | ดุสิต สิงห์ศิริ |
Degree | รป.ม (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) |
Institution | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HE ด764น |
Keywords | วิทยุกระจายเสียง--การบริหาร, วิทยุเพื่อการพัฒนาชุมชน, สื่อมวลชนท้องถิ่น |
Abstract | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก คือ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารวิทยุชุมชนต้นแบบวัดบ้านหนองหลักใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการมีส่วนรวมของประชาชนโครงสร้าง 3ฃ2)ด้านการบริหารจัดการ และ 3)ด้านรูปแบบการผลิตรายการ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลมาจาก ผู้บริหารสถานี และฝ่ายปฏิบัติการประจำ นักจัดรายการ อาสาสมัคร ผู้ดำเนินรายการวิทยุ รวมทั้งสิ้น 6 คน สำหรับวัตถุประสงค์ประการที่สอง คือ เพื่อศึกษาแนวทางการสนับสนุนการดำเนินงานในเชิงนโยบายเพื่อให้การดำเนินงานของวิทยุชุมชนต้นแบบเป็นไปอย่างยั่งยืน นั้นผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลมาจากนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน นักปฏิรูปสื่อ ผู้บริหารหน่วยงานส่วนราชการที่ทำหน้าที่กำกับดูแล การดำเนินงานวิทยุชุมชน และนักการเมือง ซึ่งเป็นผู้กำหนดในเชิงนโยบาย รวมทั้งสิ้น 15 คน ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักเน้นศึกษาแบบเฉพาะกรณี ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจะเน้นข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์จริงประกอบกับการศึกษาค้นคว้าทางเอกสารของกรณีศึกษาเป็นสำคัญ
ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาแนวทางการพัฒนาวิทยุชุมชนต้นแบบ นั้นพบว่า 1)ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมการดำเนินงานวิทยุชุมชนวัดบ้านหนองหลัก ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในระดับฐานะผู้รับสาร ผู้ใช้สาร ซึ่งเป็นขั้นตอนของการมีส่วนร่วมระดับล่างสุด การมีส่วนร่วมในระดับของผู้ส่ง ผู้ผลิต ผู้ร่วมผลิต ผู้ร่วมแสดง และการมีส่วนร่วมในระดับผู้วางแผนและกำหนดนโยบาย นับว่าเป็นรูปแบบสูงสุดของการมีส่วนร่วม 2)ด้านการบริหารจัดการ พบว่า ดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการบริหารสถานี ที่มีตัวแทนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานี และมีลักษณะการดำเนินงานที่เป็นองค์กรที่ไม่มีความสลับซับซ้อน ในส่วนการดำเนินงานด้านงบประมาณของสถานีวิทยุชุมชนวัดบ้านหนองหลัก จะเป็นเงินทุนของวัดบ้านหนองหลักที่ได้รับบริจาคจากกิจกรรมที่จัดขึ้น และมีงบประมาณสนับสนุนเพียงบางส่วนจากการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ภาพลักษณ์ของสินค้าในชุมชน ไม่ใช่เป็นการรับจ้างโฆษณาสินค้าและบริการทางธุรกิจแต่อย่างใด ขณะด้านบุคลากร ส่วนใหญ่จะเป็นการรับจ้างโฆษณาสินค้าและบริการทางธุรกิจแต่อย่างใด ขณะด้านบุคลากร ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่เข้ามาดำเนินงานด้วยจิตอาสา และ 3) ด้านรูปแบบการผลิตรายการ พบว่า เป็นการผลิตรายการในรูปแบบรายการประเภทสาระบันเทิง ส่วนเนื้อหารายการ เป็นข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนมากกว่า ข้อมูลที่มาจากภายนอก
ผลการศึกษาในวัตถุประสงค์ที่สองเพื่อศึกษาแนวทางการสนับสนุนการดำเนินงานในเชิงนโยบายเพื่อให้การดำเนินงานของวิทยุชุมชนต้นแบบเป็นไปอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยสามารถสรุปใน 4 ด้าน ได้ดังนี้ 1)ด้านการบริหารจัดการ ควรมีโครงสร้างการบริหารงานที่ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมากนัก และควรบริหารจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการ เพื่อให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดกาตามความพร้อมของชุมชนแต่ละแห่ง ส่วนด้านการบริหารจัดการงบประมาณพบว่า จำเป็นต้องมีการสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนและชุมชน ด้วยการสนับสนุนเงินงบประมาณจากคนในชุมชนเอง ควรมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของวิทยุชุมชนภาพประชาชน เพื่อให้สามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่องมีความยั่งยืนด้านการบริหารบุคลากร พบว่า บุคคลที่ปฏิบัติงานเป็นกลุ่มอาสาสมัคร ที่มีความเสียสละ และมีจิตอาสาในการทำงานด้านการสื่อสารของชุมชน จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะด้านการผลิตรายการวิทยุ รวมทั้งการบริหารจัดการสถานีฯ 2)ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน มีส่วนร่วมในการผลิตรายการ ระดับการบริหารงาน การกำกับติดตามประเมินผล และการส่งเสริมและสนับสนุนให้วิทยุชุมชนภาคประชาชนได้รวมตัวกันในลักษณะเครือข่าย 3) ด้านการผลิตรายการ ควรได้รับการพัฒนาด้านการผลิต และการบริหารรายการและด้านเทคนิคและ 4) ด้านกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับรองรับและควบคุมการดำเนินงาน ซึ่งพบว่าไม่มีกฎหมายรองรับการดำเนินงานและไม่มีหน่วยงานองค์กรที่รับผิดชอบการกำกับดูแลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาการจัดสรรคลื่นความถี่ จึงเสนอให้แบ่งคลื่นความถี่วิทยุให้ชัดเจน ระหว่างวิทยุชุมชนกับวิทยุเพื่อบริการธุรกิจ และการเร่งรัดให้มีองค์กรเพื่อรับผิดชอบการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการวิทยุโทรทัศน์โดยเร็ว
|
Title Alternate | Operational development approach of community radio model: the case of Ban Nong Lak community radio in Muangsamsib district in Ubon Ratchathani province |