การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Titleการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsเจนจิรา จุ้ยประโคน
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQ จ713ก
Keywordsการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), วิทยาศาสตร์กายภาพ, วิทยาศาสตร์โลก
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ เรื่อง โครงสร้างโลก แผ่นดินไหว และภูเขาไฟ ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม ตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนและ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพลับพลาชัยพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 47 คน การวิจัยเป็นแบบ one group pretest-posttest design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนโดยใช้ normalized gain ผลการวิจัย พบว่า 1)นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) จากการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.43/76.73 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 3) นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเฉลี่ยทั้งห้องอยู่ในระดับปานกลาง average normalized gain, เท่ากับ 0.59 หรือร้อยละ 59 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90.81 กล่าวโดยสรุปว่า การจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงขึ้นได้

Title Alternate Developing active learning environment about earth science for high school students
Fulltext: