Abstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าทางโภชนะของหญ้าลูกผสมสกุล Brachiaria และศึกษาความต้องการพลังงานสำหรับโคพื้นเมืองไทย แบ่งเป็น 3 การทดลอง
การทดลองที่ 1: การศึกษาส่วนประกอบทางเคมี คุณค่าทางโภชนะ และพลังงานในส่วนของใบของหญ้า Mulato II และหญ้าลูกผสมสกุล Brachiaria 15 ชนิด พบว่า ค่าเฉลี่ยของปริมาณวัตถุแห้ง, อินทรียวัตถุ, โปรตีน, NDF และ ADL มีค่าเท่ากับ 21.74, 85.82, 13.56, 61.18, 31.60 และ 1.55% ตามลำดับ การประเมินค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้งในส่วนของใบของหญ้า Mulato II เปรียบเทียบกับหญ้าลูกผสมสกุล Brachiaria 15 ชนิด โดยใช้เทคนิคถุงไนล่อน (In sacco techniques) พบว่า มีค่าเฉลี่ยของการย่อยได้ของวัตถุแห้งสูงสุดที่ 48 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 75.10% สำหรับค่าความสามารถในการย่อยสลายได้สูงสุด (A+B) และค่าปริมาณอาหารที่ถูกย่อยได้จริงในกระเพาะรูเมน (Effective degradability, ED) ที่อัตราการไหลผ่านที่ 2 และ 5% ต่อชั่วโมง (0.02 และ 0.05 h-1) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 75.10 ; 62.56 และ 49.69% ตามลำดับ (p<0.05) เมื่อนำค่าพารามิเตอร์ A, B และ C ไปทำนายปริมาณวัตถุแห้งที่โคกินได้ (DMI) ปริมาณวัตถุแห้งที่สัตว์ได้รับ (DDMI) และอัตราการเจริญเติบโต (GR) พบว่า ในส่วนของใบของหญ้า Mulato II และหญ้าลูกผสมสกุล Brachiaria 15 ชนิด มีค่าเฉลี่ยของ DMI และ DDMI เท่ากับ 5.04, 3.92 กิโลกรัมวัตถุแห้ง/วัน และ GR เท่ากับ 0.39 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ สำหรับการทำนายค่าดัชนีบ่งชี้ (Index value) ที่ใช้จัดลำดับหรือเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารของพืชอาหารสัตว์ พบว่า ในส่วนของใบของหญ้า Mulato II และหญ้าลูกผสมสกุล Brachiaria 15 ชนิด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 49.92
การประเมินค่าการย่อยได้ของอินทรียวัตถุ และพลังงานโดยใช้เทคนิคการผลิตก๊าซ พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของการย่อยได้ของอินทรียวัตถุ (OMO), ค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้ (ME) และค่าพลังงานสุทธิ (NE) มีค่าเท่ากับ 54.63%, 8.35 และ 5.26 MJ/KgDM ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าในส่วนของใบของหญ้า Mulato II และหญ้าลูกผสมสกุล Brachiaria 15 ชนิด เป็นหญ้าคุณภาพสูง
การทดลองที่ 2 : การประเมินคุณค่าทางโภชนะและพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ในส่วนของใบของหญ้า Mulato II และพลังงานใช้ประโยชน์ได้ ทำการทดลองโดยใช้วิธีเก็บตัวอย่างทั้งหมด (Total collection) และวัดก๊าซมีเทนจากการเรอออกจากปากของสัตว์ โดยใช้ Respiration Chamber พบว่า หญ้า Mulato II แห้ง อายุการตัด 45 วัน มีโปรตีน เท่ากับ 7.30% ค่าเยื่อใย NDF, ADF, ADL และพลังงานรวม (GE) มีค่าเท่ากับ 75.58, 42.78, 6.62% และ 15.58 MJ/KgDM ตามลำดับ ปริมาณวัตถุแห้งที่โคกินได้มีค่าเท่ากับ 1.54% น้ำหนักตัว หรือ เท่ากับ 64.64 g/KgBW0.75 การย่อยได้ของเยื่อใย NDF และ ADF มีค่าเท่ากับ 63.05 และ 53.72% สำหรับโภชนะที่ย่อยได้ทั้งหมด (TDN) พลังงานรวม (GE), พลังงานที่ย่อยได้ (DE) และพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ (ME) ของหญ้า Mulato II แห้ง มีค่าเท่ากับ 58.84%, 15.58, 9.59 และ 6.77 MJ/KgDM ตามลำดับ
การทดลองที่ 3 : การศึกษาเมตาบอลิซึมของพลังงาน และประเมินค่าความต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตของโครุ่นพันธุ์พื้นเมืองไทยเพศผู้
การทดลองที่ 3.1: การประเมินค่าความต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโต (Feeding trial) ของโคพันธุ์พื้นเมืองเพศผู้ที่ได้รับอาหารพลังงานแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ T1=1.3 M, T2=1.6 M และ T3=1.9 M ส่วนประกอบทางเคมีของอาหารข้น พบว่า มีโปรตีน, เยื่อใย NDF, ADF และ ADL เท่ากับ 17.00, 28.40, 11.13 และ 2.01% ตามลำดับ พลังงานรวม (GE) มีค่าเท่ากับ 18.21 MJ/KgDM สำหรับหญ้ารูซี่ พบว่า มีโปรตีน 4.82% เยื่อใย NDF, ADF และ ADL เท่ากับ 65.42, 47.21 และ 6.47% ตามลำดับ พลังงานรวม (GE) มีค่าเท่ากับ 15.52 MJ/KgDM สำหรับปริมาณวัตถุแห้งที่กินได้ พบว่า ระดับพลังงานที่ 1.9 M (T3)% มีค่าปริมาณวัตถุแห้งที่กินได้สูงสุด 3.30 Kg/head/d คิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัว เท่ากับ 2.68 หรือ 88.95 g/KgBW0.75 การเพิ่มน้ำหนักตัวเฉลี่ยในช่วง 12 สัปดาห์ พบว่า ระดับพลังงานที่ 1.9 M(T3) มีการเพิ่มน้ำหนักตัวเฉลี่ยสูงสุด 71.68 Kg สำหรับอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (ADG, Kg/head/d) พบว่า ระดับพลังงานที่ 1.9 M (T3) มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด เท่ากับ 0.85 Kg/head/d
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (ADG, g/KgBW0.75/d) และพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ที่กินได้เฉลี่ยต่อวัน (MEI, g/KgBW0.75/d )โดยใช้สมการเส้นตรงอย่างง่าย (Simple Linear Regression) ได้สมการ คือ MEI= 34.92 ADG +311.70 (n=18, R2=0.72) จากสมการนี้ พบว่า โคพื้นเมืองมีความต้องการพลังงานเพื่อการดำรงชีพเท่ากับ 311.70 kJ/KgBW0.75/d
การทดลองที่ 3.2 : การประเมินการย่อยได้ของโภชนะและเมตาบอลิซึมพลังงานของโคพื้นเมืองเพศผู้ที่ได้รับอาหารพลังงานแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ T1=1.3 M, T2=1.6 M และ T3=1.9 M ตามลำดับ พบว่า ระดับพลังงานที่ 1.9 M (T3) มีปริมาณวัตถุแห้งที่โคกินได้ (DM intake) สูงสุด มีค่าเท่ากับ 4.21 Kg/d คิดเป็น% น้ำหนักตัวเท่ากับ 2.22 หรือ 82.26 g/KgBW0.75 สำหรับปริมาณอินทรียวัตถุที่โคกินได้ (OM intake), ปริมาณโปรตีนที่โคกินได้ (CP intake) และปริมาณเยื่อใย NDF ที่โคกินได้ (NDF intake) พบว่า ระดับพลังงานที่ 1.9M (T3) มีค่าสูงสุดเท่ากับ 75.01, 10.17 และ 35.55 g/KgBW0.75
พลังงานใช้ประโยชน์ (Energy utilization) พบว่า พลังงานรวมที่โคกินได้ (GE intake),พลังงานย่อยได้ที่โคกินได้ (DE intake) และพลังงานใช้ประโยชน์ได้ที่กินได้ (ME intake) ระดับพลังงานที่ 1.9 มีค่าสูงสุดเท่ากับ 1,416.88, 1,140.05 และ 992.91 kJ/KgBW0.75 ตามลำดับ
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานที่ใช้ประโยชน์ที่กินได้ (MEI intake, kJ/KgBW0.75/d) และพลังงานที่ร่างกายสามารถกักเก็บไว้ได้ (ER retention, kJ/KgBW0.75) โดยใช้สมการเส้นตรงอย่างง่าย (Simple linear regression) ได้สมการ คือ ER retention = 0.61 MEI-301.80 (n=12, R2=0.98) จากสมการนี้พบว่า โครุ่นพันธุ์พื้นเมืองไทยมีความต้องการพลังงานใช้ประโยชน์ได้ (MEm) เพื่อการดำรงชีพ เท่ากับ 495 kJ/KgBW0.75/d
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนที่กินได้ (CP intake, gCP/KgBW0.75/d) และโปรตีนที่ร่างกายกักเก็บไว้ได้ (CP retention, gCP/KgBW0.75/d ) โดยใช้สมการเส้นตรงอย่างง่าย Simple linear regression ได้สมการ คือ CP retention = 0.86 CP intake - 2.26 (n=12, R2=0.99) จากสมการนี้ พบว่า โคพื้นเมืองไทยมีความต้องการโปรตีนเพื่อการดำรงชีพ (CPm) เท่ากับ 2.64 gCP/KgBW0.75/d หรือ คิดในรูป gN/KgBW0.75/d มีค่าเท่ากับ 0.42
|