การพัฒนาตำรับยาฟีนาสเตอไรด์ในรูปแบบโปรนิโอโซมเพื่อเพิ่มการซึมผ่านทางรูขุมขน

Titleการพัฒนาตำรับยาฟีนาสเตอไรด์ในรูปแบบโปรนิโอโซมเพื่อเพิ่มการซึมผ่านทางรูขุมขน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsภณิกชา วิชยปรีชา
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRM ภ139
Keywordsการซึมผ่านทางรูขุมขน, การดูดซึมของผิวหนัง, การตอบสนองพื้นผิว, การระคายเคืองผิว, ฟีนาสเตอร์ไรด์--การวิเคราะห์, โปรนิโอโซม
Abstract

ฟีนาสเตอไรด์เป็นยาที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาให้ใช้รับประทานเพื่อรักษาภาวะผมร่วงในเพศชาย ปัจจุบันเป็นยาเม็ดที่ใช้ในการรับประทานและมีรายงานผลข้างเคียงจากการใช้ยา คือ ทำให้ความต้องการทางเพศลดลงและทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การใช้ยาฟีนาสเตอไรด์ในรูปแบบของโปรนิโอโซม โดยซึมผ่านทางรูขุมขนสามารถช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมเพื่อกระตุ้นการเจริญของเส้นขน การเตรียมตำรับฟีนาสเตอไรด์เตรียมด้วยวิธีโคอะเซอร์เวชันแบบแยกวัตภาค โดยการหาสภาวะที่เหมาะสมด้วยการออกแบบการทดลองด้วยวิธีตอบสนองพื้นผิวร่วมกับการออกแบบส่วนผสมกลาง พบว่า สภาวะที่เหมาะสมที่ใช้ในการเตรียมตำรับคือ ความเข้มขนของคอเรสเตอรอลเท่ากับร้อยละ 39.03 ไขมันทั้งหมดในตำรับเท่ากับ 20.26 mM และความเข้มข้นฟีนาสเตอไรด์เท่ากับ 3.39 mM ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมนี้จะให้ร้อยละการกักเก็บยาเท่ากับ 94.47 ?1.67 ร้อยละการบรรจุยาเท่ากับ 13.14?0.18 และมีขนาดอนุภาคขนาดเฉลี่ย 292?0.85 nm เมื่อเก็บตำรับภายใต้สภาวะควบคุมที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส 25 องศาเซลเซียส 75%RH และ 40 องศาเซลเซียส 75% RH พบว่า ขนาดอนุภาคและค่าประจุไฟฟ้าที่ผิวอนุภาคของระบบไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 4 เดือน ร้อยละการกักเก็บยาและร้อยละการบรรจุยาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส 75%RH มีค่าเป็น 86.69?1.04 และ 12.70?0.08 ตามลำดับ ซึ่งมีค่ามากกว่าที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และ 40 องศาเซลเซียส 75%RH การศึกษาการปลดปล่อยฟีนาสเตอไรด์ด้วยเทคนิคไดอะไลซีสพบว่า การปลดปล่อยฟีนาสเตอไรด์ออกจากโปรนิโอโซมเป็นแบบการออกฤทธิ์เนิ่น การศึกษาการซึมผ่านชั้นผิวหนังของฟีนาสเตอไรด์ด้วยเทคนิค Franz diffusion cell พบว่า ที่เวลา 24 ชั่วโมง ตำรับฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมและสารละลายฟีนาสเตอไรด์พบว่า ปริมาณฟีนาสเตอไรด์ในสารละลายตัวกลางเท่ากับ 5.26?1.85 ?g/cm2 และ 2.51?0.45 ?g/cm2 ตามลำดับ การศึกษาการซึมผ่านทางรูขุมขนของฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมเทียบกับสารละลายฟีนาสเตอไรด์พบว่า ปริมาณสารละลายฟีนาสเตอไรด์ที่ซึมผ่านทางรูขุมขน เท่ากับ 2.43?0.63 ?g/cm2 และ 0.67?cm2 ตามลำดับ สำหรับการศึกษาประสิทธิภาพการเจริญของเส้นขนในหนูสายพันธุ์ C57BL/6Mlac พบว่า ร้อยละ 1 ของฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมมีประสิทธิภาพเทียบเท่าร้อยละ 2 ของสารละลายไมนอกซิดิลและร้อยละ 1 ของฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมเพิ่มการเจริญของเส้นขนหนูได้มากกว่าร้อยละ 1 ของสารละลายฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมเพิ่มการเจริญของเส้นขนหนูได้มากกว่าร้อยละ 1 ของสารละลายฟีนาสเตอไรด์ การศึกษาเนื้อเยื่อของผิวหนังจะประเมินวงจรชีวิตของเส้นขนหลังจากทาสารทดสอบ พบว่า ฟีนาสเตอไรด์ การศึกษาเนื้อเยื่อของผิวหนังจะประเมินวงจรชีวิตของเส้นขนหลังจากทาสารทดสอบ พบว่า ฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมและสารละลายไมนอกซิดิลเพิ่มจำนวนและขนาดของรูขุมขนได้เทียบเท่ากันอย่างมีนัยสำคัญและฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมมีจำนวนรูขุมขนแตกต่างจากสารละลายฟีนาสเตอไรด์อย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาการระคายเคืองผิวในกระต่ายพบว่า มีค่าการระคายเคืองผิวเป็นศูนย์ ดังนั้นการพัฒนาตำรับยาฟีนาสเตอไรด์ในรูปแบบโปรนิโอโซมเพื่อเพิ่มการซึมผ่านทางรูขุมขนเพื่อใช้ในการรักษาภาวะผมร่วงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีความน่าสนใจในการรักษาภาวะผมร่วงและสามารถลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้

Title Alternate Development of finasteride proniosomes for transfollicular delivery enhancement
Fulltext: