ความหลากหลายของไดอะตอมพื้นท้องน้ำและสาหร่ายขนาดใหญ่และคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขงส่วนที่ไหลผ่านจังหวัดอุบลราชธานี

Titleความหลากหลายของไดอะตอมพื้นท้องน้ำและสาหร่ายขนาดใหญ่และคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขงส่วนที่ไหลผ่านจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsปริญญา มูลสิน
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต--สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ป458
Keywordsความหลากหลายทางชีวภาพ, ดัชนีทางชีวภาพ, นิเวศวิทยาลำน้ำ--ลุ่มน้ำโขง, สาหร่ายขนาดใหญ่, แม่น้ำโขง--แง่สิ่งแวดล้อม, ไดอะตอม, ไดอะตอมพื้นท้องน้ำ
Abstract

การศึกษาความหลากหลายของไดอะตอมพื้นท้องน้ำและสาหร่ายขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขงส่วนที่ไหลผ่านจังหวัดอุบลราชธานี 10 จุด ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ถึงเดือนมกราคม 2551 ผลการศึกษาพบไดอะตอมพื้นท้องน้ำทั้งหมด 307 ชนิด ชนิดเด่นได้แก่ Gomphonema lagenula Kutzing รองลงมาคือ Navicula rostellata Kutzing, Nitzschia palea (Kutzing) W.Smith, Luticola goeppertiana (Bleisch) D.G.Mann, Nitzschia liebetruthii Robenhorst, Sellaphora pupula (Kutzing) Mereschkowsky, Navicula erifuga Lange-Bertalot และ Cymbella tumida (Bribisson) Van Heurck ตามลำดับ ไดอะตอมที่มีแนวโน้มจะเป็ยชนิดใหม่มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ Geissleria sp. UBU-MK1, Gomphonema sp.1 UBU-MK2 และ Gomphonema sp.2 UBU-MK3 และไดอะตอมที่มีแนวโน้มเป็น variety ใหม่ 1 variety คือ Pinnularia divergentissima UBU-MK4 พบสาหร่ายขนาดใหญ่ 38 ชนิด ที่เป็นชนิดเด่น คือ Spirogyra spp. ซึ่งพบหลายชนิด รองลงมา คือ Cladophora glomerata Kutzing, Microspora pachyderma (Wille) Lagerheim และ Microspora sp. 1 UBU MK5 ตามลำดับ สาหร่ายขนาดใหญ่มีแนวโน้มเป็นชนิดใหม่มี 1 ชนิด คือ Microspora sp. 1 UBU MK5
คุณภาพน้ำในแต่ละทุกจุดเก็บตัวอย่างในแม่น้ำโขงส่วนที่ไหลผ่านจังหวัดอุบลราชธานีมีคุณภาพใกล้เคียงกัน คือ มีคุณภาพน้ำปานกลาง มีสารอาหารปานกลาง (mesotrophic) ได้แก่ บ้านนาเมือง วัดปากแซง บ้านตามุย บ้านนาสนาม หลังตลาดในเทศบาลอำเภอเขมราฐ และหาดวิจิตรา จุดที่จัดเป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำปานกลางถึงไม่ดี มีสารอาหารปานกลางถึงสูง (mesotrophic to eutrophic) ได้แก่ แก่งช้างหมอบ บ้านกุ่ม บ้านด่านและบ้านห้วยไผ่
ผลการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ชนิดและปริมาณของสาหร่ายขนาดใหญ่ร่วมกับคุณภาพน้ำในแต่ละจุดเก็บตัวอย่าง พบว่า ไดอะตอมพื้นท้องน้ำและสาหร่ายขนาดใหญ่หลายชนิดสามารถนำมาใช้ในการบ่งชี้คุณภาพได้ โดยไดอะตอมพื้นท้องน้ำ Cymbella tumida (Bribisson) Van Heurck และ Navicula erifuga Lange-Bertalot สามารถใช้เป็นดัชนีน้ำที่มีคุณภาพน้ำปานกลางมีสารอาหารปานกลาง และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ Cymbella turgidula Grunow, Gomphonema clevei var. javanica Hustedt, Luticola goeppertiana (Bleisch) D.C. Mann, Nitzschia liebetruthii Rabenhorst และ Nitzschia palea (Kutzing) W. Smith สามารถใช้เป็นดัชนีบ่งชี้น้ำที่มีคุณภาพปานกลางถึงไม่ดีมีสารอาหารปานกลางถึงสูงได้ สาหร่ายขนาดใหญ่ Spirogyra sp. 1, Spirogyra sp.2, Cladophora glomerata Kutzing, Microspora pachyderma (Wille) Lagerheim และ Microspora sp. สามารถใช้เพื่อบ่งชี้แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำปานกลางมีสารอาหารปานกลางได้ Oscillatoria princeps Vaucher สามารถใช้เพื่อบ่งชี้แหล่งน้ำที่มีคุณภาพปานกลางถึงไม่ดี มีสารอาหารปานกลางถึงสูงได้

Title Alternate Diversity of benthic diatom and macroalgae and wate quality in Mekong River in the vicinity of Ubon Ratchathani Province
Fulltext: